บ่มรัก รักแท้

บ่มรัก รักแท้

ความหอมหวานของการบ่มรัก อาการหวนหาอดีตนี้ย่อมเกิดขึ้นพร้อมความรู้สึกแบบอนุรักษ์นิยมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้ในปัจจุบัน มโนทัศน์ดังกล่าวก็ยังคงปรากฏตัวออกมาในหลากหลายรูปแบบ ในปริมณฑลของศิลปะ การ “ ตามหาแต่เพียงลำพัง ” กลายเป็นวิถีเฉพาะตนของศิลปิน ท่ามกลางการสร้างสรรค์ทั้งมวลที่เกิดขึ้น ศิลปินจำนวนไม่น้อยค้นหาเส้นทางของ ตัวเองจากอดีตกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งศิลปะจากประเทศฝั่งตะวันออก การศึกษาแบบตะวันตกที่กลายเป็นการศึกษาแบบ สากล ส่วนหนึ่ง ก่อให้เกิดความรู้สึกตัดขาดจากภูมิปัญญาดั้งเดิมที่เคยมีเคยเป็น การค้นหา อัตลักษณ์ของตนในแง่หนึ่งจึงเป็นการค้นหาอัตลักษณ์ของชาติไปพร้อมกับ ในระดับปัจเจก คำถามอย่าง “ เราจะสร้างงานศิลปะไทยร่วมสมัยที่มีรากเหง้าได้อย่างไร ” จึงเป็นประเด็นที่ผุดขึ้นมาอยู่เสมอ คำถามและข้อเรียกร้องนั้นดูราวกับว่า ศิลปะร่วมสมัยนั้น เป็น “ ทายาท ” ของงานแบบประเพณี ทว่าอะไรคือข้อกำหนดที่บ่งบอกว่ามันจะ ต้องเป็นเช่นนั้น หรือแม้กระทั่งว่ามันจะเป็นได้หรือไม่ อะไรคือ “ การคลี่คลาย ” ?

อย่างไรก็ตาม ณ ปัจจุบันที่เราได้นิยามศิลปะบนมาตรฐานของตะวันตกร่วมกันนี้ ก็ก่อให้เกิดเอกภาพในระดับหนึ่งเกี่ยวกับการสร้างสรรค์และความเคลื่อนไหวใน แวดวงศิลปะ บนเส้นทางการแสวงหานี้ วันวานยังหวานอยู่ การนำของเก่ากลับมา ใช้ใหม่จึงเป็นทางเลือกอันหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ในรูปลักษณ์ต่างๆ กันไป เราคงไม่อาจ เรียกปรากฏการณ์นี้ว่าเป็นการคลี่คลายมาจากงานประเพณี เพราะคำว่า “ คลี่คลาย ” นั้นแนะเป็นนัยถึงการสืบทอดเป็นทายาท ความเชื่อมโยงที่เกิดขึ้นไม่ได้อยู่ในลักษณะ ของการเป็นลูกหลานโดยแท้ เพราะถึงที่สุดแล้วเรื่องของการนำกลับมาใช้ใหม่ก็เป็นประเด็น สากล อยู่ดี แต่ทั้งนี้ก็มิได้หมายความว่าการกระทำเช่นนั้นจะไร้เสียแล้วซึ่งคุณค่า ในทางตรงกันข้าม ผลผลิตของศิลปินเหล่านี้ได้สร้างความตื่นตาตื่นใจได้ไม่แพ้งานศิลปะ รูปแบบอื่นๆ ดังที่มีผู้กล่าวถึงไว้ว่าเป็นการ “ ทำให้ตกตะลึงด้วยของเก่า ”
จันทนา แจ่มทิม ผู้สร้างสรรค์นิทรรศการ “ บ่มรัก ” ที่ About Studio / About Cafe ก็เป็นศิลปินที่ได้รับการศึกษาศิลปะตามแนวทางแบบตะวันตกเช่นกัน จันทนาเลือก ใช้ลายรดน้ำเป็นเทคนิคในการทำงานโดยที่ผ่านมาเป็นผลงาน จิตรกรรม ทั้งหมด จิตรกรรมนี้เองที่หมายถึงการเป็นงานศิลปะ แบบสมัยใหม่ แม้ว่าจะใช้ เทคนิคแบบที่ช่างไทยโบราณทำสืบทอดกันมา แต่ก็ไม่ทั้งหมด จันทนา เลือก ที่จะตัดขั้นตอนบางอย่างออก เช่น การปรุกระดาษเพื่อตบดินสอพองหรือการสร้างลายใหม่ ตามจินตนาการของตน เป็นการตีตัวออกห่างงานแบบประเพณีดั้งเดิม ทั้งตัวจิตรกรรมเอง ก็คือการดึงเอาผลงานออกมาจากบริบทแบบเดิม ลายรดน้ำที่ตามปกติติดอยู่กับตู้พระธรรม บานประตู หน้าต่างคือองค์ประกอบที่อยู่ร่วมกับสิ่งอื่นเพื่อให้คุณค่าและหน้าที่แก่สิ่งนั้น – การทำบุญเพื่อสืบศาสนา “ รัก ” และ “ ทองคำเปลว ” ให้ทั้งในแง่ของความแข็งแรงมั่นคง และการบูชา แต่ผลงานของจันทนาคือการดึงเอาลายรดน้ำออกจากการให้คุณค่าและ ความหมายแก่สิ่งอื่นมาเป็นการนำเสนอตัวมันเองในฐานะงานจิตรกรรม ในกรอบสี่เหลี่ยมบน ผนังของพื้นที่แสดงงานศิลปะ บริบทเปลี่ยน นิยามเปลี่ยน เรื่องของวัดกับวังและหน้าที่ ใช้สอยหายไปพร้อมกับมโนทัศน์เกี่ยวกับศิลปินก็เข้ามาแทนที่เรื่องของช่างฝีมือ

ลายรดน้ำซึ่งเคยอิงอยู่กับสิ่งอื่นได้กลายมาเป็นวัตถุที่เสร็จสัมบูรณ์ในตัวเองนี้ อาจจะเรียกได้ว่าเป็นมุมมองแบบ Modernism โดยแท้ การใช้รูปแบบงานจิตรกรรม ได้ตอกย้ำประเด็นดังกล่าวลงไปด้วยการเป็นวัตถุที่จบในกรอบภาพ เมื่อ “ ลายประดับ ” กลายเป็น “ ภาพ ” จึงหมายถึงการเสนอ “ ตน ” ที่เป็นเอกเทศ แต่ในนิทรรศการนี้ จันทนาได้ก้าวเลยการนำเสนอลายรดน้ำที่เสร็จแล้วในกรอบสี่เหลี่ยมไปสู่การนำเสนอ ขั้นตอนการทำงาน จาก “ ผลลัพธ์ ” กลายเป็น “ กระบวนการ ” จาก “ ปลายทาง ” เป็น “ ระหว่างทาง ” ด้วยรูปแบบ installation ศิลปินยก / จำลองห้องทำงานอันเคย สงวนเป็นพื้นที่ส่วนตัวมาเปิดเผยในพื้นที่สาธารณะ ( หอศิลป์ ) จุด / สถานีต่างๆ ภายใน About Studio / About Caf? เป็นการหยิบเอากระบวนการแต่ละขั้นในการทำ ลายรดน้ำออกมาให้ดูพร้อมแสดงตัววัสดุ , วัตถุดิบทั้งหมดที่ใช้การได้จริง ตลอดช่วง เวลาของนิทรรศการ ศิลปินจะเข้ามาทำงานเพื่อเผยให้ผู้ชมเห็นถึงความซับซ้อนและ ระยะเวลาที่ใช้ในการสร้างลายรดน้ำ ในแต่ละสัปดาห์ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น บนแผ่นไม้ถูกนำเสนอในฐานะงานศิลปะ แผ่นไม้เหล่านั้นไม่ได้เป็นเพียงตัวรองรับ ลายสีทองอีกต่อไป แต่ตัวมันถูกให้ค่าเช่นเดียวกับวัตถุดิบอื่นๆ ทั้งหมดที่จัดวางไว้ แต่ละช่วงมีไฮไลท์ของตนที่จับขึ้นมาสร้างเป็นผลงานได้ วัตถุดิบอย่างสมุกทั้งหลาย - สมุกคือวัสดุที่ใช้สำหรับรองพื้นไม้กระดาน เพื่อเตรียมทำลายรดน้ำ ได้แก่ ถ่านกะลามะพร้าว ถ่านใบตองแห้ง ผงอิฐ ดินสอพอง บดเป็นผงละเอียดโดยมีตัวประสานคือยางรัก

หรดาน ทองคำเปลวแสดงค่าของตัวมันเอง ออกมาด้วยการแช่แข็งกระบวนการไว้กลางคัน แผ่นไม้สีน้ำตาลไม่ใช่สีที่เกิดจากการ ทาสีที่ใช้โดยทั่วไปในงานจิตรกรรม แต่เป็นสีของสมุกที่ถูกอัดลงบนผืนผ้าขาวบาง บนแผ่นกระดาน แม้ขั้นตอนแต่ละช่วงจะถูกหยุดเพื่อนำเสนอในฐานะสิ่งที่ “ เสร็จ ” ( ด้วยการตัดสินใจของศิลปิน ) แต่ความเป็นกระบวนการของนิทรรศการทั้งหมดก็ก่อ พลวัตรให้ไหลเวียนไปพร้อมความเคลื่อนไหวของศิลปิน ปฏิบัติการณ์ของจันทนาเป็นทั้ง “ ความจริง ” ( ที่ศิลปินกระทำจริงในการสร้างลายรดน้ำ ) และ “ การแสดง ” ทางศิลปะ (performance) จุด / สถานีที่ใช้การได้จริงนั้นไม่ได้ “ จริง ” เสียจนลืมที่จะคำนึงถึงสุนทรียะ กระบวนการจริงและชั้นเชิงทางศิลปะดำเนินควบคู่ไปด้วยกันเป็นเนื้อเดียว

รายรดน้ำ
ศิลปะแบบกระบวนการ (process art) ที่เผยให้เห็นเบื้องหลังของการทำงานนี้ แฝงไว้ด้วยมโนทัศน์แบบสัมพัทธ์นิยม (Relativism) สิ่งต่างๆ ไม่ได้เสร็จสิ้นภาย ในตนเอง ในที่นี้เรื่องราวที่ดำเนินไป “ ข้าม ” จุด / สถานีก็เชื่อมโยงกันด้วยการ เป็นขั้นตอนที่ต้องผ่านก่อนจะเป็นลายรดน้ำ ด้วยกระบวนทัศน์แบบ ร่วมสมัย ( หรืออีกนัยหนึ่ง Postmodernism ) อาจจะเป็นสิ่งนี้ก็ได้ที่มีความ ใกล้เคียงกับงานโบราณของไทยในแง่ของการให้คุณค่ากับกระบวนการที่บ่งชี้ ถึงระยะเวลา ศาสนสถานอาจไม่สามารถเกาะกุมจิตใจผู้คนได้หากไม่ใช้เวลานับ สิบปีในการสร้าง ( หรือบางกรณีอาจเป็นร้อย ) การร่วมมือร่วมใจจากคนหมู่มาก อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้ตระหนักถึงคุณค่าจากการลงมือปฏิบัติเฉกเช่นผู้ชมที่เข้ามา ร่วมทำงานกับศิลปิน การแบ่งปันความเป็น “ ผู้สร้าง ” ให้แก่มืออื่นๆ เน้นย้ำถึง มโนทัศน์เกี่ยวกับการลงแขกอันเป็นวัฒนธรรมของคนไทย ( แม้ศิลปินจะยังคง รับบทเป็นผู้กำกับการแสดง ) ประสบการณ์ตรงย่อมทะลุทะลวงการรับรู้ นาน เท่าไหร่ที่ศิลปะพึงใช้เวลา ทั้งการสร้างและการเสพเรียกร้องความอดทนและ การเพ่งพินิจ งานแบบประเพณีที่รูปปั้น ภาพเขียนและอาคารหลอมรวมเป็น อันหนึ่งอันเดียวอย่างแยกกันไม่ออกอุปมาเหมือนแต่ละจุด / สถานีที่ถักทอ ตัวเองเข้าด้วยกันด้วยเป้าหมายอันหนึ่ง แม้ “ ความเป็นไทย ” จะมองไม่เห็น ด้วยตาเนื้อ แต่ก็อยู่ในบางสิ่งซึ่งลึกไปกว่าแง่มุมทางกายภาพหรือเนื้อหาทาง พุทธศาสนาที่ศิลปะมักหยิบยกมาใช้ หน้าตาของนิทรรศการที่ดูเป็น “ ของนอก ” โดยสิ้นเชิงนั้นกลับแสดงให้เห็นถึงลักษณะบางอย่างของวัฒนธรรมไทยแต่ดั้งเดิม

แนวคิดร่วมสมัยถูกนำมาใช้มองกลับไปที่งานโบราณและหยิบมาสร้างสรรค์เป็น ผลงาน ประณีตศิลป์แปรสภาพเป็นศิลปะ ไม่ใช่การคลี่คลายจากรากเดิม แต่เป็น แฝดคนละฝาเสียมากกว่า ความไม่จบในตัวเองและการอิงอยู่กับสิ่งอื่นที่พบใน แนวคิดแบบร่วมสมัยและแบบไทยโบราณมาประจบกันในนิทรรศการ “ บ่มรัก ” ด้วย “ ยางรัก ” และ “ ความรัก ” ที่ผ่านระยะเวลาในการ “ บ่ม ” นี้ ศิลปะได้ยืน อยู่บนข้อโต้แย้งและคำถามอันเป็นอุดมคติถึง “ รากเหง้า ” ของไทยที่ยังไม่จบสิ้น และอาจไม่มีวันจบสิ้น ทว่าสำหรับศิลปินแล้ว ได้ค้นพบและตอบคำถามของการ แสวงหา ส่วนตน ต่อวิถีของศิลปะ ไฟจากเถ้าที่กระจัดกระจายคุโชน อีกครั้ง ไอของอดีตยังไม่จางหาย กลิ่นยังกรุ่นอยู่ที่ปลายจมูก … ถ้าเพียงแต่จะก้มมาดมดอม
ธนาวิ โชติประดิษฐ

btemplates