วิธีทำไม้ง่ามหนังสติ๊ก

source: รัตตรา
เว็บบอร์ด อวป

วิธีทำหนังสะติ๊กครับ เลือกง่ามไม้ที่จะทำเช่น ไม้มะขามหาง่ายสุด และเป็นไม้เนื้ออ่อนดี เล็งซ้ายขวาดู จะเห็นได้ว่า ความแตกต่างของง่าม ธรรมชาติสร้างมาได้แค่ใกล้เคียง ในภาพจะเห็นว่าด้านแต่ละด้านจะเยื้องกัน เราต้องเล็งดูว่า จุดศูนย์กลางของง่ามเพียงพอจะเหลาให้ได้ เป็นง่ามไม้ที่มีซ้ายขวา ได้สมดุลย์กันหรือไม่เมื่อเราทำเสร็จ รูปลักษณะแบบใดที่เราต้องการก็ต้องกำหนดเอาเองโดยการเขียนลงบนกระดาษคร่าวๆ แล้วเปรียบเทียบกับง่ามจริง ก่อนลงมือทำ การกะระยะตัดไม่เป็นการดี การตัดระยะความสูงของง่ามไม้ควร เขียนเส้นแบ่งองศาไว้ที่แบบกระดาษ
รูป 1. เลือกหาง่ามไม้มาทำโดยคัดอันที่ไม่โย้เย้ จนเกินไป เล็งดูแค่ให้ ด้านซ้ายด้านขวา สมดุลย์แค่ใกล้เคียงกันก็พอแล้ว เพราะเราสามารถปรับแต่งได้
รูป 2. ตัดปลายทั้งสามด้านตามความยาวที่ต้องการ อย่าให้สั้นจนเกินไป ในทางที่ดี ควรเผื่อให้ยาวไว้ก่อน ขึ้นอยู่กับมือผู้ใช้เป็นสำคัญครับ
รูป 3. ปอกเปลือกออกหนึ่งด้านเพื่อจะได้เล็งแนว ซ้ายขวาให้เห็นได้ชัดขึ้น ว่าไม้ง่าม มีการเอียงโย้ไปด้านหน้าหรือด้านหลัง จะได้ตัดสินใจลงมีดว่าควรเอาเนื้อไม้ด้านไหนออกไป
รูป 4. พลิกกลับดูอีกด้านเล็งดูให้แน่ใจว่าทิศทางหน้าตา จะออกมาทางไหน ดูผลต่างของเนื้อไม้ที่ จะต้องเหลาออกไป
รูป 5. เหลาเนื้อไม้ที่ไม่ต้องการทิ้งไปตามแนวที่เราเล็งไว้แล้ว ตรงในภาพส่วนนี้จะเป็นจุดที่เหลาเนื้อไม้ออกไปได้ยากที่สุด ต้องใช้มีดที่มีใบยาวสามนิ้วกำลังเหมาะ และปลายมีดให้เป็นทรงหัวตัดปลายแหลมจิกดังภาพ จะทำให้งานง่ายขึ้น
รูป 6. วิธีทำของผมจะขึ้นรูปง่ามเป็นทรงเหลี่ยมก่อนเสมอ เพื่อกำหนดทรงได้ง่ายการขึ้นทรงกลมเลย ถ้าใครเคยทำเป็นรูปกลมเลยก็ได้ ( ถ้าชำนาญพอ ) แต่โอกาสพลาดทำแล้วไม่กลมแต่ออกมาเบี้ยวมีเยอะครับ แก้กลับไม่ได้ วิธีนี้สำหรับความชัวร์ ทำเป็นทรงเหลี่ยมเรียวปลายหรือเหลี่ยมตรงๆ ขึ้นไปก่อนก็ได้ครับ พร้อมกับกำหนดจุดความยาวที่จะทำเป็นตุ่มด้านด้านหัวหนังสะติ๊ก กันยางฯ หลุดออกจากหัวง่ามเวลายืดยิง แนะนำว่าควรใช้มีดคมๆ กดเป็นคอคอดโดยรอบไว่ แต่ควรต่ำกว่า จุดที่ต้องการจริงซักหนึ่งมิลลิเมตร เพื่อเก็บตรงส่วนเผื่อไว้ตกแต่งให้ถึงระยะต้องการอีกที
รูป 7. คราวนี้เห็นชัดๆ เลยครับว่าเหลาเป็นทรงเหลี่ยมก่อนการเกลาให้กลม เป็นอย่างไร ในภาพจะเริ่มเกลาเหลี่ยมให้กลมแล้วครับ ตรงนี้จุดที่ระวังที่สุดคือ การให้น้ำหนักมีดกดไล่ไปหาปลายตุ่มหัว ( ยังเป็นทรงเหลี่ยมอยู่ ) ระวังอย่าให้แรงเกินจนไปตัดหัวตุ่มจนเกิดขาดขึ้นมาละก็ จบเห่เลยทันที เสียเลยครับ ต้องทำอันใหม่ หรือไม่ก็ดัดแปลงไปทำอันเล็กลงไปเรื่อย ตามแต่สภาพ
รูป 8. พลิกกลับมาทำอีกด้านให้คอยเล็งดูด้านที่ทำไปแล้วด้วย เดี๋ยวจะโตไม่เท่ากัน และเวลาควั่น ตรงโคนใต้ตุ่มหัวไม่ง่าม ระวังมีดสะบัดไปโดนตุ่มขาด จะทำให้เสียของไปเลย ( ย้ำอีกครั้ง )
รูป 9. อันนี้ของผมทำเองใส่สไตล์ คอคอด ตรงส่วนโคนง่ามด้านใน ที่มองปุ๊บรู้ปั๊บว่า เป็นแบรนด์ของผม เพราะตั้งแต่เกิดมายังไม่เคยเห็นใครทำ ก็เลยคิดใส่อะไรลงไปแปลกๆ สวยๆ ซึ่งดูแล้วสวยขึ้นอีกเยอะ

รูป 11. เริ่มทำร่องนิ้ว โดยการกดมีดดักทั้งด้าบนและด้านล่างเพื่อไม่ให้เกิดการแฉลบปาดเอา เปลือกที่ต้องการเก็บไว้เสียหายหลุดออกไป แล้วจะไม่สวย
รูป 12. แสดงให้เห็นการค่อยๆ ปาดเอาเปลือกออกไปทีละนิด จะดีกว่าการกดลึกลุยไปเลย
รูป 13. กว่าจะทำเสร็จครบทุกร่องนิ้ว นานนะครับ แล้วร่องสุดท้ายคือร่องสำหรับนิ้วก้อย นี่จะยากสุดเพราะมีเนื้อที่ๆ จะจับทำน้อยลง วิธีแก้ ต้องปล่อยด้ามไม้ไว้ยาวๆไว้ก่อนพอทำร่องเสร็จแล้วค่อยตัดให้ได้ ตามความยาวที่ต้องการครับ เพราะทำให้การควบคุม ใบมีดได้ดีกว่า แล้วก็ไม่ต้องเสียยาแดงหรือเย็บแผลที่มือด้วย
slingshot – ไม้ยิงนก – ไม้ง่ามหนังสติ๊ก
รูป 14. ใช้ใบมีดคมๆเกลาผิวให้เกลี้ยงเกลา ก่อนลงกระดาษทรายหยาบและละเอียดตามอีกครั้ง ก่อนจะเก็บผิวงาน ก็ต้องเล็งแล้วเล็งอีก ว่ามันมีจุดตำหนิตรงไหนบ้าง สูงต่ำ โย้บิดไปด้านไหนก็แต่งแก้ซะ ไม่มีอันไหนหรอกครับที่จะเท่ากัน ร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะการทำด้วยมือต้องมีตำหนิกันบ้าง การบิดงอของง่ามไม้ เราแต่แก้ได้เท่าที่มันจะทำได้ครับ

ช่างแกะสลักไม้

งานช่างแกะสลัก

สถาบันศิลปกร กรมศิลปากร
ส่วนช่างสิบหมู่

งานช่างแกะสลัก เป็นงานช่างไทยที่มีมาแต่โบราณ งานศิลปกรรมที่เกี่ยวกับการแกะสลักไม้มักรวมเรียกว่า เครื่องไม้จำหลัก นับว่าเป็นงานศิลป์ไทยที่อยู่เคียงคู่กับชาติไทยมาช้านาน ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ แต่ไม้เป็นวัตถุที่เสื่อมสลายดังนั้นศิลปะที่ทำด้วยไม้ดังกล่าวจึงไม่เหลือ ให้เป็นหลักฐานในปัจจุบัน

สมัยสุโขทัย
สมัย สุโขทัย ราวพุทธศตวรรษที่ 19 – 20 งานศิลปกรรมแกะสลักปรากฏให้เห็นในลักษณะงานต่าง ๆ เช่น ใช้เป็นส่วนประกอบโบสถ์ วิหาร อาคาร สถาปัตยกรรมซึ่งมีการแกะสลัก ประดับอาคารอย่างวิจิตรงดงาม แต่ด้วยกาลเวลาล่วงเลย จึงเสื่อมสภาพ ผุพัง 1 สูญหายไป แต่ที่มีเหลือให้พอศึกษาได้ก็เห็นจะได้แก่บานประตูพระปรางค์ วัดพระศรีมหาธาตุ เมืองเชลียง อำเภอ สวรรคโลก ซึ่งขณะนี้อยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดพิษณุโลก 

สมัยอยุธยา
สมัยอยุธยา ราวพุทธศตวรรษที่ 20 – 30 งานศิลปกรรมแกะสลักหรือที่เรียกว่า เครื่องไม้จำหลักนี้เจริญรุ่งเรืองที่สุดแขนงหนึ่ง งานศิลปกรรมแกะสลักในสมัยอยุธยานี้ยังคงเหลือตกทอดมาในปัจจุบันอยู่บ้าง เช่น บานประตูโบสถ์ วิหารจำหลักสังเค็ค ธรรมาสน์ ตู้ใส่หนังสือพระไตรปิฏก งานแกะสลักในสมัยอยุธยาไม่ได้ทำเฉพาะประเภทประดับตกแต่งเท่านั้น ยังคิดทำพระพุทธรูปไม้อีกด้วย ซึ่งงานแกะสลักไม้ให้เป็นพระพุทธรูปนั้น เรียกว่าเป็นปฏิมากรรมลอยตัว ซึ่งนับว่างดงามมากชิ้นหนึ่ง ในสมัยอยุธยา คือ ครุฑโขน หรือหัวเรือพระที่นั่ง ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา 2
1. ศิลปากร กรม, ศิลปวัฒนธรรม เล่น 5, (กรุงเทพ : พิฆเณศ, 2525) , หน้า 130
2. เรื่องเดียวกัน หน้า 130 


สมัยรัตนโกสินทร์
สมัยรัตนโกสินทร์ ศิลปะสมัยนี้สร้างสรรค์ขึ้นจากช่างกรุงศรีอยุธยา จึงนับได้ว่าเป็นศิลปะไม้แกะสลักที่สืบทอดศิลปะสมัยอยุธยาโดยตรง ฝีมือแกะสลักก็เป็นแบบสมัยอยุธยา ไม่ว่าจะเป็นหนเาบันไม้แกะสลักรูปเทพนม คันทวย ช่อฟ้า ใบระกา ซึ่งงดงามตามแบบศิลปกรรมไทยในสมัยอยุธยาทั้งสิ้น จะดูผลงานได้จากพระมหาประสาทราชวังที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดพระเชตุพนฯ. และยังมีพระเครื่องพระราชยานที่สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์อีกเป็นจำนวนมาก ได้แก่ เรือพระราชพิธี และพระราชยานที่อยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นับว่าเป็นศิลปะงานไม้แกะสลักที่เฟื่องฟูรุ่งเรืองมากในยุครัตนโกสินทร์ตอน ต้น จากการเปรียบเทียบของผู้เขียนที่ได้ศึกษาลักษณะการแกะสลักลวดลายในสมัย อยุธยานั้น
จะ เห็นได้ว่า ลวดลายแกะสลักไม้ศิลปะสมัยอยุธยานั้น จะละเอียดและอ่อนช้อยในการแกะสลักตัวกระหนก และกระจังปฏิญาณ ลักษณะการแกะสลักและปาดตัวลาย จะเป็นการปาดแกะแรตัวลาย เป็นการแกะแบบปาดแบบช้อนลายและการแกะปาดแบบลบหลังลายร่วมกัน เส้นแรตัวลายจะมีลักษณะโอบอุ้มกอดกันเป็นชั้น เช่นกระจังปฏิญาณที่หรากฏบนสังเค็คที่ศาลาการเปรียญหลังเก่าที่วัดเชิงท่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และบ่านประตูไม้แกะสลักที่วัดหน้าพระเมรุและวัดพนัยเชิง ซึ่งลักษณะลวดลายการแกะสลักคล้ายกับแกะสลักเป็นลายก้านขดการปากตัวลายจะปาด แบบช้อนลาย และลบหลังลายร่วมกัน ดูเหมือนว่าใบจะก้านเหมือนเถาวัลย์พันเกี่ยวกัน แต่ถ้าเปรียบเทียบลักษณะการแกะสลักบานประตูสมัยสุโขทัย ทวารบาลของวัดพระศรีมหาธาตุเมืองเชลียง อำเภอสวรรคโลก ที่อยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดพิษณุโลก กับทวารบาล วัดพระศรีสรรเพชญ ศิลปะสมัยอยุธยา จะเห็นได้ว่า ศิลปะสมัยสุโขทัยจะอ่อนช้อยในเรื่องของเส้น รูปทรง ลีลา และสัดส่วนที่งดงาม ส่วนศิลปะสมัยอยุธยานั้นจะเน้นทางด้านเครื่องทรง แต่ลักษณะรูปทรงสัดส่วนและลีลาท่าทางดูจะเข็งกว่า ทวารบาลของสมัยสุโขทัยดูจะอ่อนช้อยนุ่มนวลกว่ามาก ถ้าจะเปีรยบเทียบลวดลายศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย กันศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น จะเห็นได้ว่ามีลักษณะทางด้านฝีมือจะใกล้เคียงกัน ไม่ว่าจะเป็นการปาด การแกะแรตัวลาย 

ช่างแกะสลัก ก็คือ ช่างที่มีความรู้ ความสามารหถในการออกแบบลวดลายและสามารถถ่ายทอดรูปแบบทีหลังและลวดลายนั้น ด้วยการใช้เครื่องมือและชองมีคมแกะสลักลงบนเนื้อวัสดุ เช่นไม้ หิน โลหะ เขาสัตว์ และบนวัสดุของอ่อน เช่น ผลไม้ หรือหัวของพืช ทำให้เกิดลวดลายและภาพมีแสงเงา และระยะเกิดความสูงต่ำภายในภาพ ซึ่งสามารถสัมผัสได้ด้วยมือและสายตา เป็นภาพสามมิติ อีกทั้งช่างจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องตัวลายและภาพจึงจะสามารถทำการ แกะสลักไม้เพราะการแกะสลักนั้นคือกระบวนการที่ช่างต้องใช้เครื่องมือทำการ ขุด ตัด ทอน แล้วแกะเอาเนื้อวัสดุนั้นออก ซึ่งช่างจะต้องใช้ความประณีต อีกทั้งต้องมีความรู้ลักษณะของเนื้อวัสดุ เช่น ทางของเนื้อไม้ อีกทั้งยังต้องรู้เทคนิคและวิธีการใช้เครื่องมือ เพื่อเวลาแกะสลักไม้จะได้ไม้บิ่นและหลุด และช่างควรรู้วิธีการประดิษฐ์เครื่องมือคือ สิ่วและลับให้คมอยู่เสมอ เพื่อเวลาแกะสลักจะทำให้งานที่ออกมานั้นมีความสวยงาม เพราะคมสิ่วประกอบกับความสามารถในฝีมือช่าง

ในสมัยโบราณ วัดบางวัดเป็นแหล่งผลิตช่างแกะสลักที่ได้ทิ้งผลงานไว้ให้กล่าวถึงฝีมือช่าง ที่มีช่างที่ได้ฝึกฝนมาจากวัดนั้น ๆ ซึ่งจะดูได้จากการแกะสลักลวดลาย หน้าบันต่าง ๆ ในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ล้วนเป็นผลงานต้นสมัยรัตนโกสนิทร์ ซึ่งได้รับการบูรณะให้คงสภาพเดิมจนตราบเท่าทุกวันนี้
ลักษณะงานช่างแกะสลัก เป็นงานศิลปกรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า งานช่างแกะสลัก เป็นงานช่างฝีมือซึ่งต้องใช้ความชำนาญเฉพาะตัว จะต้องใช้ความประณีต โดยช่างจะต้องถ่ายทอดรูปแบบและลวดลายลงบนวัสดุ ด้วยการใช้สิ่วที่ทำจากโลหะ เหล็กกล้าที่แข็งและเหนียวทำให้เกิดความคมด้วยการตี การเจียรแล้วตกแต่งให้เป็นสิ่วหน้าตรง หน้าโค้ง ขนาดต่าง ๆ และฆ้อนไม้เป็นเครื่องมือในการแกะสลัก สามารถสื่อความรู้สึกได้ด้วยการสัมผัสด้วยมือและด้วยสานตา ซึ่งต้องอาศัยการใช้เครื่องมือให้เป็น ซึ่งการแกะสลักให้ได้ดีนั้นจะต้องรู้จักการใช้สิ่วและฆ้อน ลักษณะงานช่างแกะสลักแต่ละชิ้นนั้น เช่น การแกะสลักพระพุทธรูปก็เห็นว่าเป็นลักษณะของแกะสลักแบบปฏิมากรรมลอยตัว

Wood Burning ศิลปะการวาดลวดลายลงบนไม้

Wood Burning การ สร้างภาพบนผืนไม้ มีหลายวิธี การแกะสลักโดยใช้ความร้อนก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งในต่างประเทศนิยมกันมาก และมีมานานแล้ว ซึ่งปัจจุบันนิยมใช้ เลเชอร์ เข้ามาช่วยแต่งเติมผลงาน แต่ในประเทศไทย ก็มีให้เห็นบ้าง แต่วิธีการดั้งเดิมโดยใช้ปากการ้อน ไม่ค่อยมีให้เห็นบ่อยนัก ชิ้นงานของหลายท่านที่พบเห็นก็จากการทำเป็นงานอดิเรก และภาพข้างบนก็เป็นตัวอย่างจากเครื่องเลเชอร์
ภาพผู้ชายเผ่าอินเดีแดง จากการเติมแต่ง จากโปรแกรม Photoshop แล้วทำการสแกนภาพใหม่ เพื่อให้ได้ ความละเอียดสูงขึ้น เปลี่ยนฟอร์แมทเป็น เวคเตอร์ แล้วทำการยิงเลเชอร์ผ่านโปรแกรม Corel draw
รูปภาพจาก Bill & Masayo Bastian

ศิลปการวาดลวดลายด้วย ปากกาความร้อน บนไม้

ศิลปการวาดลวดลายด้วย ปากกาความร้อน บนไม้ (wood burning)
เป็นงานที่ใช้ความร้อนเผาเนื้อไม้ให้เกิดเป็นลวดลาย เป็นที่นิยม กันอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ เป็นงานศิลปอันทรงคุณค่า สวยงาม สามารถสร้างผลงานให้โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ และ ประยุกต์ลวดลายได้ตาม ศิลปวัฒนธรรมของเรา
ความลับ ของการสลักลวดลายด้วยความร้อน ในงาน wood burning คือการใช้เครื่องมือ ปากกาความร้อนวาดหรือขีดเขียนลงไปในชิ้นงานไม้ ให้ได้ความเร็วและน้ำหนักอย่างพอเหมาะ ไม่ใช่อาศัยแต่การกดหัวปากกาความร้อนไปเผาไหม้เนื้อไม้
การเคลื่อนไหวอย่างเบามือและรวดเร็วจะสร้างเส้นเล็ก อ่อนไหวดั่งปลายยอดหญ้า และการเคลื่อนไหว อย่างช้าๆ จะทำให้เกิด มิติ เส้นลึก เป็นเงา

ส่วนประกอบของปากกาความร้อน

ส่วนประกอบของปากกาความร้อน
  • อุปกรณ์ ปรับอุณหภูมิ ควบคุมความร้อน สามารถปรับอุณหภูมิได้ 2000 ฟาเรนไฮนต์ ภายใน 8 วินาที
  • หัวปากกา ขนาดต่าง ๆ ภายในมีเกลียวสำหรับต่อกับหัวปากกา
  • ที่วางปากกาความร้อน ทำจากโลหะ เมื่อจะพักการใช้งาน
  • ตัวปากกา
หัวปากามีหลายชนิดและวิธีใช้ที่แตกต่างกัน
  1. ปากกาหัวแบน (Universal Point)
    หัวปากกาชนิดนี้เหมาสำหรับการลากเส้นตรงเล็ก ๆ บาง ๆ ส่วนแหลมสุดของปลายปากกาใช้ทำจุดกลมเล้ก หรือจุดสามเหลี่ยม สันของปลายปากกาใช้ลากเส้นตรงหนาทึบ และเน้นเส้นโค้งให้คมชัด ส่วนด้านข้างของหัวปากกาเหมาะสำหรับแรเงาหรือระบายพื้น
  2. ปากกาหัวมน (Flow Point, Mini Flow Point)
    หัวปากกาชนิดนี้เหมาะสำหรับวาดเส้นที่มีลักษณะ อ่อนช้อยนุ่มนวล เช่น เส้นโค้ง เส้นรัศมี เส้นเคลื่อนไหว และการทำเทคนิคลายจุด โดยการใช้ปลายปากกากลิ้งไปรอบ ๆ จนเกิดรอยไหม้กว้าง หรือลึกตามต้องการ ซึ่งจะทำให้ได้ลวดลายที่มีพื้นผิวสวยงาม
  3. ปากกาแรเงา (Shading point)
    หัวปากกาชนิดนี้มีลักษณะคล้ายเกรียงสำหรับเขียนภาพ คือเป็นแผ่นแบนปลายรีแหลม เหมาะสำหรับแรเงา โดยนาบส่วนที่เป้นแผ่นแบนเรียบนั้นลงไปบนพื้นไม้ แล้วลากไปมาจนเกิดเป็นแสงเงาขึ้น ถ้าต้องการแสงเงาอ่อน ๆ ให้ลากปากกาไปมาเร็ว ๆ เหมือนการระบายสีบาง ๆ แต่ถ้าต้องการเงาเข้มให้ลากปากกาซ้ำไปซ้ำมาช้า ๆ สามารถใช้ร่วมกับหัวปากกาชนิดอื่น ๆ ได้ การทำเส้นโค้ง โดยเอียงปากกาขึ้น 45 องศา แล้วใช้เส้นโค้งด้านข้างปากกาทำลวดลาย ส่วนปลายแหลมของหัวปากกาใช้เขียนเส้นเล็กละเอียด
    เนื่องจากหัวปากกาชนิดนี้ใช้สำหรับแรเงา ความร้อนจึงน้อยกว่าปากกาหัวแบน เส้นที่ได้จึงเป็นเส้นอ่อนบาง
  4. ปากาหัวแหลม (Cone Point)
    หัวปากกาชนิดนี้เป็นรูปกรวยแหลมเหมือนปลายดินสอ หรือหัวปากกาทั่วไป มีขนาดค่อนข้างเล็ก ใช้สะดวก เหมาะสำหรับการเขียนตัวอักษร วาดเส้นทุกประเภท ทำจุดไข่ปลา ทำลายจุด วาดเส้นอิสระ
    การใช้ปากกาหัวแหลมต้อวระวังการฝนเขม่าดำ ออกจากหัวปากกา โดยการกลิ้งหัวปากกาไปรอบ ๆ และอย่าลืมลากปากกาเข้าหาตัวทุกครั้งที่ลากเส้น

การเลือกใช้ปากกาความร้อน ในงานWood Burning

การเลือกใช้ปากกาความร้อนให้เหมาะสม Picking the right Wood Burning Pen:
ปากกาความร้อน ปัจจุบันได้พัฒนาไปมาก ทั้งการออกแบบ และน้ำหนัก ไม่เหมือนสมัยก่อนที่ดูเหมือน ช่างไฟฟ้าเลยทีเดียว ทำให้การทำงานง่ายมากชึ้น โดยเฉพาะน้ำหนักเบาขึ้น การวาดเส้นบาง ๆ เช่น ขนนก ทำได้สะดวกมือทีเดียว มีหลากหลายยี่ห้อ และราคา ก็เลือกที่เหมาะกับเราที่สุด ดูในแง่ราคาสมเหตุสมผล บ้านเราหาซื้อยากซักหน่อย ถ้ารอได้ ก็นำเข้ามาเอง หรือ ไปที่ ebay มีทั้งของใหม่ และของใช้แล้ว
ปากกา ความร้อน ส่วนใหญ่จะบอกย่านรายละเอียดอุณหภูมิ ที่สามารถปรับได้ ที่ตัวกล่อง และตัวกล่องควบคุมความร้อนคุณภาพที่ดี จะมีลูกบิดเซ็ทอุณหภูมิที่ให้ปรับเปลี่ยนจาก500 - 900 องศา บางบริษัทสามารถปรับได้ถึง 2000 องศาเลยทีเดียว ปากกาความร้อน ราคาถูก อาจไม่สามารถปรับอุณหภูมิได้ คือเซ็ทค่าตายตัวประมาณ 600 องศาแบบคงที่ แล้วคุณจะเลือกแบบไหน ทำเป็นงานอดิเรก หรือถ้าต้องการพัฒนาสูงขึ้น คุณควรเลือกแบบที่สามารถปรับเปลี่ยนอุณหภูมิได้
ส่วน หัวปากกาความร้อน ควรที่จะถอดหรือปรับเปลี่ยนหัวปากกาได้ เพื่อสะดวกในการทำงานที่หลากหลาย สิ่งที่ควรระวังในการถอดเปลี่ยนหัวปากกา ควรเปลี่ยนหัวปากกาขณะที่หัวปากกาคลายความร้อนแล้ว และต้องแน่ใจว่าหัวปากกาใส่พอดีกับตัวด้ามปากกา เพราะอุณหภูมิจะไม่ได้ตามที่กำหนด ผลงานจะออกมาไม่ดี
การ ทำความสะอาดหัวปากกาความร้อน ถ้าคุณใช้กระดาษทรายเพื่อกำจัดคราบเขม่าดำจากการเผาไหม้เนื้อไม้ จากปลายปากกาของคุณบ่อย ๆ คุณจะพบว่าส่วนปลายสึกกร่อนเร็ว และจะทำให้หัวปากกาคุณอายุการใช้งานสั้นลง ควรใช้หินขัด ที่ทำความสะอาดหัวปากกาที่ผลิตจากโรงงานจะดีกว่า
ข้อสังเกต ไม้ บางชนิดจะมีความเป็นกรด ที่ทำให้หัวปากกา สึกเร็วขึ้น และการปล่อยให้หัวปากกาความร้อนสกปรก มีคราบเขม่าดำ จะทำให้ผลงานที่ได้ไม่เสมอต้นเสมอปลาย

Wood Burning samples I

Fine Point Techniques
เส้นตรงและเส้นโค้งถือเป็นลายพื้นฐานในการวาด ที่นำไปสร้างสรรค์งานต่าง ๆ ได้มากมาย
จับปากกาเอียง 45 องศา และลากปากกาเข้าหาตัวเสมอ ใช้สันปากกาในการลากเส้น เส้นและลวดลายต่าง ๆ เกิดจากความร้อนเผาไหม้พื้นผิวไม้ ไม่ได้เกิดจากการกดน้ำหนักลงบนพื้นผิวไม้ ดังนั้นถ้าต้องการลายเส้นที่มีสีเข้ม หรือน้ำหนักมาก ให้ลากปากกาช้า ๆ ถ้าต้องการลายเส้นที่มีสีอ่อน หรือมีน้ำหนักเบา ให้ลากปากกาเร็ว ๆ และถ้าต้องการลายที่ดำชัดเป็นส่วน ๆ ให้ใช้ปากกาจี้นาน ๆ หรือฝนไปมาหลายครั้งลวดลายที่โค้งไปมาสามารถขยับ หรือเคลื่อนชิ้นไม้แทนการขยับปากกา หรือมือของผู้ใช้
Soft Point Techniques
เหมาะสำหรับวาดเส้นที่ต้องการความอ่อนช้อย นุ่มนวล เช่น เส้นขอบ ลายพื้น เส้นโค้ง เส้นหยัก วงกลมวงเล็ก ๆ หรือลายเส้นรูปตัว C
จับปากกาให้ตั้งขึ้นกว่าการเขียนเส้นตรงเล็กน้อย ให้ปลายปากกาส่วนที่แหลมสุดสัมผัสกับพื้นผิวไม้ อย่าลืมฝนเขม่าดำที่จับตรงหัวปากกาออกให้หมดก่อน อย่ากดหัวปากกา ควรลากช้า ๆ ให้เกิดลวดลายจากการเผาไหม้
การทำวงกลมเล็ก ๆ ใช้วิธีเขียนตัว C แล้วตามด้วย ตัว C กลับข้าง ...ขณะทำลวดลายสามารถขยับ หรือเคลื่อนชิ้นไม้แทนการขยับปากกา หรือมือของผู้ใช้

Bold Point Techniques
ใช้วาดเส้นเส้นกรอบ ขอบภาพ หรือเส้นที่ลึกดำเข้ม เพื่อเน้นความคมชัด ทำได้ทั้งเส้นตรง เส้นโค้ง และภาพลายเส้นขาว-ดำที่ไม่ต้องการระบายสีเพิ่มเติม
จับปากกาให้เอียง 45 องศา ใช้สันปากกาหัวแบนลากลงบนลายช้า ๆ พร้อมกับกดน้ำหนักลงบนเนื้อไม้เพื่อเพิ่มความลึกชัดและความเข้ม บังคับปากกาให้เคลื่อนไปเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่องตามลวดลายที่ลงไว้แล้ว เทคนิคนี้ใช้เวลามากกว่าเทคนิคอื่น ๆ เนื่องจากต้องใช้ปากกาเผาไหม้นาน ๆ เพราะต้องการให้เข้มมาก
Side Shading Techniques
การทำเงา และระบายพื้นที่ในภาพ จะช่วยเพิ่มน้ำหนักให้ภาพดูมีมิติสมจริงขึ้น
ใช้สันปากกาหัวแบนลากไปมาจนเกิดรอยไหม้ โดยเอียงปากกาไปทางขวา และซ้ายกลับไปกลับมา จับปากกาเบา ๆ ไม่ต้องดกน้ำหนักลงไป ให้สันปากกาเผาไหม้จนเกิดรอยไหม้เป็นพื้นที่กว้าง สำหรับไม้เนื้ออ่อนจะเกิดเงาได้ง่าย ถ้ากดแรงไปจะทำให้ไม้เกิดรอยไหม้ดำมาก แต่หากต้องการให้ภาพเข้มจัด อาจจะกดปากกาให้แรงขึ้นและทำช้า ๆ ไปเรื่อย ๆ โดยเฉพาะไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้มะขาม ไม้สัก ฯลฯ ต้องใช้เวลามากเป็นพิเศษ จุดสำคัญของเทคนิคคือ ต้องใช้แรงกดเท่า ๆ กันในการเตลื่อนปากกาไปมา จะทำให้เกิดลายที่นุ่มนวลสม่ำเสมอมากกว่าการทำ ๆ หยุด ๆ หรือกดบ้าง หยุดบ้าง