ประเภทของงานแกะสลัก
ลักษณะลวดลายงานไม้แกะสลักสมัยโบราณ มักจะออกแบบลวดลายต่าง ๆ เป็นลักษณะลวดลายอันอ่อนช้อยงดงาม ยึดแบบอุดมคติตามประเพณีนิยมแบบศิลปะไทยโบราณ ซึ่งเป็นแบบลวดลายและภาพทางจิตรกรรมไทย ซึ่งมีให้เห็นตามตัวอย่าง เช่น หน้าบันโบสถ์วัดหน้าพระเมรุ ซึ่งเป็นภาพนารายณ์ทรงครุฑและมีทวยเทพห้อมล้อมเป็นศิลปะสมัยอยุธยา และตู้พระธรรมไม้จำหลัก สมัยอยุธยาที่อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เป็นที่น่าเสียดายที่ศิลปกรรมของงานไม้สมัยกรุงศรีอยุธยาที่ต้องเสียหายไป เมื่อคราวเสียกรุงครั้งสุดท้ายเท่าที่พอยังมีเหลืออยู่ให้ศึกษากันในด้าน ฝีมือช่าง ในสมัยที่รุ่งโรจน์จนถึงขีดสุดว่ามีความงดงามเพียงใด จากสิ่งที่ยังเหลืออยู่นี้เองจึงเป็นเหมือนตำราที่ทรงคุณค่าต่อการศึกษาค้น คว้าและยึดรูปแบบเป็นแนวทางปฏิบัติของช่างในคนรุ่นหลังสืบต่อไป
งานไม้แกะสลัก นับว่าเป็นงานศิลปกรรมที่ช่างไทยทำกันมาแต่โบราณ ทั้งนี้จะเห็นได้จากผลงานแกะสลักลวดลายประดับอาคาร สถาปัตยกรรม เช่น ลวดลายหน้าบัน คันควย ช่อฟ้า ใบระกา บานประตูแสดงให้เห็นถึงความสามารถของช่างไทยที่มีการเรียนรู้ การถ่ายทอด และวิวัฒนาการฝีมือในการประดิษฐ์ ศิลปกรรมอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมสืบทอดกันมาหลายร้อยปี ซึ่งลักษณะลวดลายแกะสลักมักจะสืบทอดประเพณีนิยมโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นศิลปะประจำชาติของไทย วัสดุงานไม้แกะสลัก วัสดุที่นิยมใช้ในการแกะสลักคือ ไม้สัก เพราะไม้สักเป็นไม้ที่ไม้แข็งจนเกินไป สามารถใช้เครื่องมือแกะสลักได้ง่าย นอกจากนี้ไม้สักยังเป็นไม้ที่ค่อนข้างจะทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศ ไม่หดตัวมากนัก เมื่อแกะสลักจะไม่ทำให้เสียรูปทรงและยากแก่การทำลายจากการกัดกินของปลวก
ประเภทของงานแกะสลัก
ภาพลายเส้น (Engraving) ได้แก่ ประติมากรรมการแกะสลักหรือเซาะร่อง ให้เป็นเส้นมีความหนักเบาเท่ากันทุกเส้น ทั้งนี้ยังรวมไปถึงลักษณะของ "การจาร" ด้วย
การแกะสลักภาพลายเส้น เป็นการเซาะร่องตามลวดลายของเส้นให้มีความหนักเบา เท่ากันตลอดทั้งแผ่น
แบบภาพนูนต่ำ (Bas reliefe) หรือที่เรียกกันในหมู่ช่างว่า ภาพหน้าจันทร์ คือ ภาพที่มองเห็นเฉพาะหน้าตรงเท่านั้น เพราะภาพจะนูนขึ้นมาเพียงเล็กน้อย
ภาพนูนต่ำ (Bas reliefe) ได้แก่ ประติมากรรมการแกะสลักที่มีลักษณะนูนออกมาจากพื้นด้านหลังหรือพื้นผิวเดิม บ้างเล็กน้อย และอาจจะแกะสลักลึกลงไปในพื้นผิววัสด (บางท่านก็๋เรียกว่า ” ประติมากรรมร่องลึก”)ความงามของประติมากรรมชนิดนี้จะสามารถมองเห็นเด่นชัด ส่วนร่องลึกที่แกะสลักลงไปนั้นจะเน้นเส้นที่มั่นคงแน่นอนของฝีมือผู้สร้าง สรรค์ ซึ่งจะปรากฎในประติมากรรมนูนต่ำ เช่นประติมากรรมนูนต่ำรูปหงส็องค์ปรางวัดจุฬามณี จังหวัดพิษณุโลก เป็นต้น
ภาพนูนสูง (Hight reliefe) ได้แก่ ประติมากรรมการแกะสลักที่มีภาพนูนออกมาจากพื้นด้านหลังของำาพ ประมาณค่อนตัว ทำให้สามารถมองเห็นทั้งด้านหน้าและด้านข้าง ในการสร้างสรรค์งานประติมากรรมชนิดนี้จึงต้องทำให้เกิดความงามทั้งด้านหน้า และส่วนที่เป็นด้านข้าง เป็นภาพที่ค่อนข้าง เป็นภาพที่ค่อนข้างให้ความละเอียดมากกว่าภาพนูนต่ำ ตัวอย่างเช่น หอไตร วัด พระสิงห์วรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ แบบภาพลอยตัว (Rounf reliefe) เช่น เกี่ยวกับงานปฏิมากรรม เช่น ภาพพระพุทธรูปทั้งองค์ ซึ่งสามารถมองได้ทุกด้าน
ภาพลอยตัว (Rounf reliefe) ได้แก่ ประติมากรรมการแกะสลักรูปทรงลอยตัว เป็นรูปสามมิติ หรือรูปที่สามารถมองเห็นได้รอบด้านมีความละเอียดและสมบูรณ์ มีฐานรองรับอยู่ทางท่อนล่าง การสร้างสรรค์ของช่างจึงต้องให้มีความงามทุกด้าน และจัดตั้งให้มีการทรงตัวที่ดี โดยการเฉลี่ยน้ำหนักให้ลงสู่ฐานที่ตั้ง พระพุทธรูปยืน พระพุทธรูปนั่ง รูปปั้นบุคคลสำคัญ รูปปั้นอนุสาวรีย์ต่างๆ รูปปั้นอนุสรณ์สถาน รูปปั้นคน และสัตว์ต่างๆ เป็นต้น ถ้าเป็นรูปปั้นคนอาจจะลักษณะภาพเต็มตัว หรือครึ่งตัว