ช่างแกะสลักไม้

งานช่างแกะสลัก

สถาบันศิลปกร กรมศิลปากร
ส่วนช่างสิบหมู่

งานช่างแกะสลัก เป็นงานช่างไทยที่มีมาแต่โบราณ งานศิลปกรรมที่เกี่ยวกับการแกะสลักไม้มักรวมเรียกว่า เครื่องไม้จำหลัก นับว่าเป็นงานศิลป์ไทยที่อยู่เคียงคู่กับชาติไทยมาช้านาน ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ แต่ไม้เป็นวัตถุที่เสื่อมสลายดังนั้นศิลปะที่ทำด้วยไม้ดังกล่าวจึงไม่เหลือ ให้เป็นหลักฐานในปัจจุบัน

สมัยสุโขทัย
สมัย สุโขทัย ราวพุทธศตวรรษที่ 19 – 20 งานศิลปกรรมแกะสลักปรากฏให้เห็นในลักษณะงานต่าง ๆ เช่น ใช้เป็นส่วนประกอบโบสถ์ วิหาร อาคาร สถาปัตยกรรมซึ่งมีการแกะสลัก ประดับอาคารอย่างวิจิตรงดงาม แต่ด้วยกาลเวลาล่วงเลย จึงเสื่อมสภาพ ผุพัง 1 สูญหายไป แต่ที่มีเหลือให้พอศึกษาได้ก็เห็นจะได้แก่บานประตูพระปรางค์ วัดพระศรีมหาธาตุ เมืองเชลียง อำเภอ สวรรคโลก ซึ่งขณะนี้อยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดพิษณุโลก 

สมัยอยุธยา
สมัยอยุธยา ราวพุทธศตวรรษที่ 20 – 30 งานศิลปกรรมแกะสลักหรือที่เรียกว่า เครื่องไม้จำหลักนี้เจริญรุ่งเรืองที่สุดแขนงหนึ่ง งานศิลปกรรมแกะสลักในสมัยอยุธยานี้ยังคงเหลือตกทอดมาในปัจจุบันอยู่บ้าง เช่น บานประตูโบสถ์ วิหารจำหลักสังเค็ค ธรรมาสน์ ตู้ใส่หนังสือพระไตรปิฏก งานแกะสลักในสมัยอยุธยาไม่ได้ทำเฉพาะประเภทประดับตกแต่งเท่านั้น ยังคิดทำพระพุทธรูปไม้อีกด้วย ซึ่งงานแกะสลักไม้ให้เป็นพระพุทธรูปนั้น เรียกว่าเป็นปฏิมากรรมลอยตัว ซึ่งนับว่างดงามมากชิ้นหนึ่ง ในสมัยอยุธยา คือ ครุฑโขน หรือหัวเรือพระที่นั่ง ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา 2
1. ศิลปากร กรม, ศิลปวัฒนธรรม เล่น 5, (กรุงเทพ : พิฆเณศ, 2525) , หน้า 130
2. เรื่องเดียวกัน หน้า 130 


สมัยรัตนโกสินทร์
สมัยรัตนโกสินทร์ ศิลปะสมัยนี้สร้างสรรค์ขึ้นจากช่างกรุงศรีอยุธยา จึงนับได้ว่าเป็นศิลปะไม้แกะสลักที่สืบทอดศิลปะสมัยอยุธยาโดยตรง ฝีมือแกะสลักก็เป็นแบบสมัยอยุธยา ไม่ว่าจะเป็นหนเาบันไม้แกะสลักรูปเทพนม คันทวย ช่อฟ้า ใบระกา ซึ่งงดงามตามแบบศิลปกรรมไทยในสมัยอยุธยาทั้งสิ้น จะดูผลงานได้จากพระมหาประสาทราชวังที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดพระเชตุพนฯ. และยังมีพระเครื่องพระราชยานที่สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์อีกเป็นจำนวนมาก ได้แก่ เรือพระราชพิธี และพระราชยานที่อยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นับว่าเป็นศิลปะงานไม้แกะสลักที่เฟื่องฟูรุ่งเรืองมากในยุครัตนโกสินทร์ตอน ต้น จากการเปรียบเทียบของผู้เขียนที่ได้ศึกษาลักษณะการแกะสลักลวดลายในสมัย อยุธยานั้น
จะ เห็นได้ว่า ลวดลายแกะสลักไม้ศิลปะสมัยอยุธยานั้น จะละเอียดและอ่อนช้อยในการแกะสลักตัวกระหนก และกระจังปฏิญาณ ลักษณะการแกะสลักและปาดตัวลาย จะเป็นการปาดแกะแรตัวลาย เป็นการแกะแบบปาดแบบช้อนลายและการแกะปาดแบบลบหลังลายร่วมกัน เส้นแรตัวลายจะมีลักษณะโอบอุ้มกอดกันเป็นชั้น เช่นกระจังปฏิญาณที่หรากฏบนสังเค็คที่ศาลาการเปรียญหลังเก่าที่วัดเชิงท่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และบ่านประตูไม้แกะสลักที่วัดหน้าพระเมรุและวัดพนัยเชิง ซึ่งลักษณะลวดลายการแกะสลักคล้ายกับแกะสลักเป็นลายก้านขดการปากตัวลายจะปาด แบบช้อนลาย และลบหลังลายร่วมกัน ดูเหมือนว่าใบจะก้านเหมือนเถาวัลย์พันเกี่ยวกัน แต่ถ้าเปรียบเทียบลักษณะการแกะสลักบานประตูสมัยสุโขทัย ทวารบาลของวัดพระศรีมหาธาตุเมืองเชลียง อำเภอสวรรคโลก ที่อยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดพิษณุโลก กับทวารบาล วัดพระศรีสรรเพชญ ศิลปะสมัยอยุธยา จะเห็นได้ว่า ศิลปะสมัยสุโขทัยจะอ่อนช้อยในเรื่องของเส้น รูปทรง ลีลา และสัดส่วนที่งดงาม ส่วนศิลปะสมัยอยุธยานั้นจะเน้นทางด้านเครื่องทรง แต่ลักษณะรูปทรงสัดส่วนและลีลาท่าทางดูจะเข็งกว่า ทวารบาลของสมัยสุโขทัยดูจะอ่อนช้อยนุ่มนวลกว่ามาก ถ้าจะเปีรยบเทียบลวดลายศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย กันศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น จะเห็นได้ว่ามีลักษณะทางด้านฝีมือจะใกล้เคียงกัน ไม่ว่าจะเป็นการปาด การแกะแรตัวลาย 

ช่างแกะสลัก ก็คือ ช่างที่มีความรู้ ความสามารหถในการออกแบบลวดลายและสามารถถ่ายทอดรูปแบบทีหลังและลวดลายนั้น ด้วยการใช้เครื่องมือและชองมีคมแกะสลักลงบนเนื้อวัสดุ เช่นไม้ หิน โลหะ เขาสัตว์ และบนวัสดุของอ่อน เช่น ผลไม้ หรือหัวของพืช ทำให้เกิดลวดลายและภาพมีแสงเงา และระยะเกิดความสูงต่ำภายในภาพ ซึ่งสามารถสัมผัสได้ด้วยมือและสายตา เป็นภาพสามมิติ อีกทั้งช่างจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องตัวลายและภาพจึงจะสามารถทำการ แกะสลักไม้เพราะการแกะสลักนั้นคือกระบวนการที่ช่างต้องใช้เครื่องมือทำการ ขุด ตัด ทอน แล้วแกะเอาเนื้อวัสดุนั้นออก ซึ่งช่างจะต้องใช้ความประณีต อีกทั้งต้องมีความรู้ลักษณะของเนื้อวัสดุ เช่น ทางของเนื้อไม้ อีกทั้งยังต้องรู้เทคนิคและวิธีการใช้เครื่องมือ เพื่อเวลาแกะสลักไม้จะได้ไม้บิ่นและหลุด และช่างควรรู้วิธีการประดิษฐ์เครื่องมือคือ สิ่วและลับให้คมอยู่เสมอ เพื่อเวลาแกะสลักจะทำให้งานที่ออกมานั้นมีความสวยงาม เพราะคมสิ่วประกอบกับความสามารถในฝีมือช่าง

ในสมัยโบราณ วัดบางวัดเป็นแหล่งผลิตช่างแกะสลักที่ได้ทิ้งผลงานไว้ให้กล่าวถึงฝีมือช่าง ที่มีช่างที่ได้ฝึกฝนมาจากวัดนั้น ๆ ซึ่งจะดูได้จากการแกะสลักลวดลาย หน้าบันต่าง ๆ ในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ล้วนเป็นผลงานต้นสมัยรัตนโกสนิทร์ ซึ่งได้รับการบูรณะให้คงสภาพเดิมจนตราบเท่าทุกวันนี้
ลักษณะงานช่างแกะสลัก เป็นงานศิลปกรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า งานช่างแกะสลัก เป็นงานช่างฝีมือซึ่งต้องใช้ความชำนาญเฉพาะตัว จะต้องใช้ความประณีต โดยช่างจะต้องถ่ายทอดรูปแบบและลวดลายลงบนวัสดุ ด้วยการใช้สิ่วที่ทำจากโลหะ เหล็กกล้าที่แข็งและเหนียวทำให้เกิดความคมด้วยการตี การเจียรแล้วตกแต่งให้เป็นสิ่วหน้าตรง หน้าโค้ง ขนาดต่าง ๆ และฆ้อนไม้เป็นเครื่องมือในการแกะสลัก สามารถสื่อความรู้สึกได้ด้วยการสัมผัสด้วยมือและด้วยสานตา ซึ่งต้องอาศัยการใช้เครื่องมือให้เป็น ซึ่งการแกะสลักให้ได้ดีนั้นจะต้องรู้จักการใช้สิ่วและฆ้อน ลักษณะงานช่างแกะสลักแต่ละชิ้นนั้น เช่น การแกะสลักพระพุทธรูปก็เห็นว่าเป็นลักษณะของแกะสลักแบบปฏิมากรรมลอยตัว

btemplates