หมู่บ้านแกะสลัก บ้านกิ่วแลน้อย
งานแกะสลักไม้ เป็นงานช่างไทยโบราณอีกแขนงหนึ่ง โดยส่วนใหญ่มักเป็นผลงานแกะสลักลวดลายที่ประดับตามอาคาร บ้านทรงไทยที่เน้นการก่อสร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบไทย หรืออย่างที่เป็นที่คุ้นเคยของคนไทยมากที่สุดก็ต้องยกให้ การแกะสลักตามวัดวาอารามต่างๆ เช่น ลวดลายหน้าบัน คันทวย ช่อฟ้า ใบระกา บานประตูหรือธรรมมาสน์ เป็นต้น
สัญลักษณ์ของงานไม้แกะสลักบ้านกิ่วแลน้อย มักถูกถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของ “ช้างไม้” เพื่อแสดงวิถีชีวิตความผูกพันของชาวเหนือที่มีต่อช้าง ซึ่งจะเห็นได้จากงานแกะสลักที่แสดงถึงอิริยาบถของช้างในรูปแบบต่างๆ อาทิ แม่ช้างให้นมลูก ครอบครัวช้างที่กำลังหยอกล้อกัน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์จากงานแกะสลักไม้ประเภทอื่นๆ ให้ เลือกซื้อเลือกหาอีกเช่นกัน เช่น โต๊ะ เก้าอี้กรอบรูป ที่ทำจากไม้ ฯ ลฯ ซึ่งแต่ละแบบล้วนเกิดจากจินตนาการของบรรดา“สล่า (ช่างไม้)” ที่รังสรรค์งานออกมาอย่างประณีตและงดงาม
บ้านกิ่วแลน้อยเป็น หมู่บ้านหนึ่งของอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ในเขตพื้นที่ตำบลบ้านแม ซึ่งมีเส้นทางการเดินทางจากตัวเมืองเชียงใหม่ได้ 2 เส้นทาง จากถนนเลียบคันคลองชลประทานจากตัวเมืองเชียงใหม่ โดยผ่านเขตพื้นที่อำเภอหางดง และพื้นที่ตำบลสันกลาง พื้นที่ตำบลน้ำบ่อหลวง อำเภอสันป่าตอง ถึงบ้านกิ่วแลน้อยซึ่ง เป็นศูนย์กลางที่ตั้งขององค์การบริหารส่วนตำบล สถานีอนามัยตำบล ตลาดสด ศุนย์แสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP และอีกหนึ่งเส้นทางคือเส้นทางสายหลัก สายเชียงใหม่ – ฮอด จากสี่แยกสนามบินหรือสี่แยกเซ็นทรัลแอร์พอร์ท ผ่านที่ว่าการอำเภอหางดงไปประมาณ 10 กม. ถึงสี่แยกคันคลองชลประทานหรือแยก ธกส. สันป่าตองเลี้ยวขวาไปตามคันคลองชลประทาน ผ่านพื้นที่ตำบลยุหว่า เข้าไปประมาณ 6 กม. ปัจจุบันมีประชากรอาศัยอยู่ 237 ครัวเรือน หรือประมาณ 800 คน
ในจังหวัดเชียงใหม่ ที่ หมู่บ้านกิ่วแลน้อย ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ หมู่ที่ 10 ตำบลบ้านแม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ กิโลเมตรที่ 20 บนถนนสายเชียงใหม่ – ฮอด ก็เป็นอีกหนึ่งชุมชนที่ยังมีการรวมกลุ่มกันอนุรักษ์งานแกะสลักไม้มิให้สูญ หายไป โดยเฉพาะในเรื่องของการ “แกะสลักไม้รูปช้าง” ซึ่งสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของคนไทยทางภาคเหนือในอดีต ที่มีชีวิตประจำวันผูกพันกับช้าง
ไม้แกะสลักรูปช้างของบ้านกิ่วแลน้อยมี หลากหลายรูปแบบ เช่น ไม้แกะสลักช้างอิริยาบถลีลา ไม้แกะสลักช้างครอบครัวคลอ รูปลูกช้างดูดนม ภาพแกะสลักช้างป่า กระบวนการแกะสลักช้างแต่ละรูปแบบ จะมีขนาดในการแกะที่หลากหลายขนาด เริ่มตั้งแต่ขนาด 6 นิ้ว- 60 นิ้ว และมีขนาดใหญ่จนถึงขนาด 100 กว่านิ้ว ชาวกิ่วแลน้อยก็สามารถทำได้
นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ เครื่องใช้แกะสลักที่สวยงามประณีต เช่น โต๊ะ , เก้าอี้, กรอบรูป ที่ทำจากไม้ ซึ่งแต่ละแบบจะเกิดจาก จินตนาการของสล่าหรือช่างแกะสลักแต่ละคนที่เป็น ผู้สร้างสรรค์งานออกมาจนเป็นผลิตภัณฑ์ สามารถสร้างชื่อเสียงให้แก่ชาวชุมชนกิ่วแลน้อยเป็นอย่างมากในเรื่องของความ ประณีตงดงาม
การแกะสลักในปัจจุบัน ชาวบ้านหันมาเลือกใช้ไม้ฉำฉาเป็นส่วนใหญ่ ทดแทนการใช้ไม้สักซึ่งเป็นที่นิยมแต่เดิม ที่ในปัจจุบันเหลืออยู่น้อยมาก ไม้ฉำฉาที่จะถูกนำมาเป็นไม้สำหรับแกะสลักได้นั้นจะต้องแก่ และจะต้องไม่มีกะพี้ (หมายถึง เนื้อขาว เนื้ออ่อนตรงแก่นกลางของไม้) เนื้อไม้จะต้องมีสีแดงล้วน แก่นไม้จะดี ไม่เลือกไม้ที่มีลักษณะเป็นโพรง โดยสังเกตจากเปลือกภายนอกที่มีรอยแตกเป็นทางยาว
ผลิตภัณฑ์ไม้แกะสลักบ้านกิ่วแลน้อย เรียกได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชนอย่างแท้จริง ดังจะเห็นได้จากมีการใช้วัตถุดิบทั้งภายในเขตอำเภอและพื้นที่ใกล้เคียงมาใช้ ในการผลิต มีการใช้แรงงานจากคนในชุมชนโดยมีครัวเรือนที่เป็นสมาชิกกลุ่มหัตถกรรมกว่า 166 ครัวเรือน รวมด้วยช่วยกันจนสามารถได้รับเลือกให้เป็นหมู่บ้านหัตถกรรมเพื่อการท่อง เที่ยวหรือหมู่บ้านต้นแบบโอท็อปในปี2548
สำหรับในด้าน ของกระบวนการผลิตนั้นชาวกิ่วแลน้อย ก็ได้ร่วมกันรักษาพยายามไม่ให้มีผลเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมชุมชน เพราะเป็นงานฝีมือสามารถทำได้ภายในครัวเรือนไม่มีมลพิษทางเสียง และกลิ่น ตลอดจนน้ำเสีย ทำให้เกิดการขยายตัวในการทำงานอย่างกว้างขวาง มีการผลิตชิ้นงานกันอย่างต่อเนื่อง
สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือชาวบ้านกิ่วแลน้อยยินดีเปิดเผยกระบวนการแกะสลักรวมทั้งเทคนิคพิเศษที่เป็นความรู้ซึ่งได้รับการถ่ายทอดกันมาให้แก่ผู้ที่สนใจโดยไม่หวงแหนอีกด้วย
การเดินทางจากตัวเมืองเชียงใหม่มุ่งหน้าสู่ถนนสายเชียงใหม่ – ฮอด ผ่านที่ว่าการอำเภอ ประมาณ 19 กิโลเมตร ถึงสี่แยก ธกส.สันป่าตอง แล้วเลี้ยวขวาเข้าไปประมาณ 5.5 กม.ก็จะถึงบ้านกิ่วแลน้อย สนใจติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0-5383-5872 ,08-9838-1084, 053 – 311671
สัญลักษณ์ของงานไม้แกะสลักบ้านกิ่วแลน้อย มักถูกถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของ “ช้างไม้” เพื่อแสดงวิถีชีวิตความผูกพันของชาวเหนือที่มีต่อช้าง ซึ่งจะเห็นได้จากงานแกะสลักที่แสดงถึงอิริยาบถของช้างในรูปแบบต่างๆ อาทิ แม่ช้างให้นมลูก ครอบครัวช้างที่กำลังหยอกล้อกัน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์จากงานแกะสลักไม้ประเภทอื่นๆ ให้ เลือกซื้อเลือกหาอีกเช่นกัน เช่น โต๊ะ เก้าอี้กรอบรูป ที่ทำจากไม้ ฯ ลฯ ซึ่งแต่ละแบบล้วนเกิดจากจินตนาการของบรรดา“สล่า (ช่างไม้)” ที่รังสรรค์งานออกมาอย่างประณีตและงดงาม
บ้านกิ่วแลน้อยเป็น หมู่บ้านหนึ่งของอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ในเขตพื้นที่ตำบลบ้านแม ซึ่งมีเส้นทางการเดินทางจากตัวเมืองเชียงใหม่ได้ 2 เส้นทาง จากถนนเลียบคันคลองชลประทานจากตัวเมืองเชียงใหม่ โดยผ่านเขตพื้นที่อำเภอหางดง และพื้นที่ตำบลสันกลาง พื้นที่ตำบลน้ำบ่อหลวง อำเภอสันป่าตอง ถึงบ้านกิ่วแลน้อยซึ่ง เป็นศูนย์กลางที่ตั้งขององค์การบริหารส่วนตำบล สถานีอนามัยตำบล ตลาดสด ศุนย์แสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP และอีกหนึ่งเส้นทางคือเส้นทางสายหลัก สายเชียงใหม่ – ฮอด จากสี่แยกสนามบินหรือสี่แยกเซ็นทรัลแอร์พอร์ท ผ่านที่ว่าการอำเภอหางดงไปประมาณ 10 กม. ถึงสี่แยกคันคลองชลประทานหรือแยก ธกส. สันป่าตองเลี้ยวขวาไปตามคันคลองชลประทาน ผ่านพื้นที่ตำบลยุหว่า เข้าไปประมาณ 6 กม. ปัจจุบันมีประชากรอาศัยอยู่ 237 ครัวเรือน หรือประมาณ 800 คน
ในจังหวัดเชียงใหม่ ที่ หมู่บ้านกิ่วแลน้อย ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ หมู่ที่ 10 ตำบลบ้านแม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ กิโลเมตรที่ 20 บนถนนสายเชียงใหม่ – ฮอด ก็เป็นอีกหนึ่งชุมชนที่ยังมีการรวมกลุ่มกันอนุรักษ์งานแกะสลักไม้มิให้สูญ หายไป โดยเฉพาะในเรื่องของการ “แกะสลักไม้รูปช้าง” ซึ่งสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของคนไทยทางภาคเหนือในอดีต ที่มีชีวิตประจำวันผูกพันกับช้าง
ไม้แกะสลักรูปช้างของบ้านกิ่วแลน้อยมี หลากหลายรูปแบบ เช่น ไม้แกะสลักช้างอิริยาบถลีลา ไม้แกะสลักช้างครอบครัวคลอ รูปลูกช้างดูดนม ภาพแกะสลักช้างป่า กระบวนการแกะสลักช้างแต่ละรูปแบบ จะมีขนาดในการแกะที่หลากหลายขนาด เริ่มตั้งแต่ขนาด 6 นิ้ว- 60 นิ้ว และมีขนาดใหญ่จนถึงขนาด 100 กว่านิ้ว ชาวกิ่วแลน้อยก็สามารถทำได้
นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ เครื่องใช้แกะสลักที่สวยงามประณีต เช่น โต๊ะ , เก้าอี้, กรอบรูป ที่ทำจากไม้ ซึ่งแต่ละแบบจะเกิดจาก จินตนาการของสล่าหรือช่างแกะสลักแต่ละคนที่เป็น ผู้สร้างสรรค์งานออกมาจนเป็นผลิตภัณฑ์ สามารถสร้างชื่อเสียงให้แก่ชาวชุมชนกิ่วแลน้อยเป็นอย่างมากในเรื่องของความ ประณีตงดงาม
การแกะสลักในปัจจุบัน ชาวบ้านหันมาเลือกใช้ไม้ฉำฉาเป็นส่วนใหญ่ ทดแทนการใช้ไม้สักซึ่งเป็นที่นิยมแต่เดิม ที่ในปัจจุบันเหลืออยู่น้อยมาก ไม้ฉำฉาที่จะถูกนำมาเป็นไม้สำหรับแกะสลักได้นั้นจะต้องแก่ และจะต้องไม่มีกะพี้ (หมายถึง เนื้อขาว เนื้ออ่อนตรงแก่นกลางของไม้) เนื้อไม้จะต้องมีสีแดงล้วน แก่นไม้จะดี ไม่เลือกไม้ที่มีลักษณะเป็นโพรง โดยสังเกตจากเปลือกภายนอกที่มีรอยแตกเป็นทางยาว
ผลิตภัณฑ์ไม้แกะสลักบ้านกิ่วแลน้อย เรียกได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชนอย่างแท้จริง ดังจะเห็นได้จากมีการใช้วัตถุดิบทั้งภายในเขตอำเภอและพื้นที่ใกล้เคียงมาใช้ ในการผลิต มีการใช้แรงงานจากคนในชุมชนโดยมีครัวเรือนที่เป็นสมาชิกกลุ่มหัตถกรรมกว่า 166 ครัวเรือน รวมด้วยช่วยกันจนสามารถได้รับเลือกให้เป็นหมู่บ้านหัตถกรรมเพื่อการท่อง เที่ยวหรือหมู่บ้านต้นแบบโอท็อปในปี2548
สำหรับในด้าน ของกระบวนการผลิตนั้นชาวกิ่วแลน้อย ก็ได้ร่วมกันรักษาพยายามไม่ให้มีผลเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมชุมชน เพราะเป็นงานฝีมือสามารถทำได้ภายในครัวเรือนไม่มีมลพิษทางเสียง และกลิ่น ตลอดจนน้ำเสีย ทำให้เกิดการขยายตัวในการทำงานอย่างกว้างขวาง มีการผลิตชิ้นงานกันอย่างต่อเนื่อง
สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือชาวบ้านกิ่วแลน้อยยินดีเปิดเผยกระบวนการแกะสลักรวมทั้งเทคนิคพิเศษที่เป็นความรู้ซึ่งได้รับการถ่ายทอดกันมาให้แก่ผู้ที่สนใจโดยไม่หวงแหนอีกด้วย
การเดินทางจากตัวเมืองเชียงใหม่มุ่งหน้าสู่ถนนสายเชียงใหม่ – ฮอด ผ่านที่ว่าการอำเภอ ประมาณ 19 กิโลเมตร ถึงสี่แยก ธกส.สันป่าตอง แล้วเลี้ยวขวาเข้าไปประมาณ 5.5 กม.ก็จะถึงบ้านกิ่วแลน้อย สนใจติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0-5383-5872 ,08-9838-1084, 053 – 311671