ศิลปหัตถกรรมบ้านถวาย
หัตถกรรมไม้แกะสลัก
การเริ่มต้นอาชีพศิลปหัตถกรรมในหมู่บ้าน ในอดีต ชาวบ้านถวายประกอบอาชีพการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ ต่อมาเกิดฝนแล้งเป็นเหตุให้ทำการเกษตรไม่ได้ผล ประมาณปี พ.ศ. 2500 – 2505 ชาวบ้านเริ่มออกไปหางานทำนอกหมู่บ้าน บางคนไปรับจ้างทำงานในตัวเมืองเชียงใหม่ ในจำนวนนี้มีชาวบ้านถวาย 3 คน คือ พ่อหนานแดง พันธุสา (หนาน หมายถึง ผู้ที่เคยบวชเป็นพระ) พ่อใจ๋มา อิ่นแก้ว และพ่ออุ่นเรือน พันธุศาสตร์ ได้ไปรับจ้างทำงานที่ร้านน้อมศิลป์ ถนนวัวลาย อำเภอเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเป็นร้านแกะสลักไม้ ได้เรียนรู้วิธีการแกะสลักไม้จาก สล่ามูล สุรินทร์ (สล่า หมายถึง ช่างฝีมือ) ของร้านน้อมศิลป์ ได้ฝึกหัดการแกะสลักไม้จนเกิดความชำนาญ เมื่อมีเวลาว่างจากการทำงานในร้านน้อมศิลป์ได้รับจ้างทำงานแกะสลักไม้ที่ บ้าน โดยมีญาติพี่น้องเป็นผู้ช่วยเหลือ เริ่มจากงานง่าย ๆ เช่น ขัดไม้ ตัดไม้ให้ได้รูปแบบตามต้องการ ทำความสะอาดและจัดเก็บเครื่องมือ เป็นต้น หลังจากนั้นจึงฝึกงานที่ยากขึ้น คือเริ่มจากการฝึกแกะสลักไม้ด้วยตนเองจนชำนาญ สามารถสืบสานความเป็น “ สล่า ” สืบต่อกันมา
หมู่บ้านถวาย ซึ่งช่างแกะสลักไม้ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ชาย ในส่วนของงานผู้หญิงก็จะช่วยขัดไม้เวลาแกะสลักเสร็จแล้ว เพื่อให้ดูเนียน หรือบางชิ้นผู้หญิงก็จะช่วยตกแต่ง ในกรณีที่ต้องการทำให้เหมือนของเก่า เช่น การลงรัก การปิดกระจก การเดินเส้น
ในระยะต่อมา เมื่อมีงานแกะสลักไม้มากยิ่งขึ้น สล่าที่เคยไปรับจ้างแกะสลักไม้ในตัวเมืองเชียงใหม่ ได้หันมาทำงานแกะสลักไม้ด้วยตนเองที่บ้าน ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้จำนวนสล่าแกะสลักไม้มีมากขึ้นตาม ลำดับ เกิดงานแกะสลักไม้ที่มีศิลปะลวดลายที่แปลกใหม่ ประณีตและวิจิตรพิสดารมากยิ่งขึ้น ด้วยความใส่ใจและความมุมานะที่จะพัฒนางาน ทำให้งานแกะสลักไม้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย และได้รับความนิยมจากผู้คนในหมู่บ้านถวายทั้งชายและหญิง จนกลายเป็นอาชีพหลักแทนการเกษตรกรรมที่เคยทำมาแต่เดิม ผู้ประกอบการงานแกะสลักไม้ต่างมีรายได้เพิ่มขึ้น
เมื่องานแกะสลักไม้ ได้รับการนิยมอย่างกว้างขวางจากชาวไทย และชาวต่างประเทศ งานแกะสลักไม้ที่เคยทำในครอบครัวได้ กลายเป็นธุรกิจการค้า โดยการตั้งร้านแสดงและจำหน่าย สิินค้าไม้แกะสลักในบริเวณบ้านของตนเอง บางส่วน ก็รวมตัว กันเป็นกลุ่มร้านค้า การขยายตัว ด้านธุรกิจการค้าดังกล่าว ทำให้บ้านถวายเป็นที่รู้จักของคนโดยทั่วไปในฐานะศูนย์กลาง การผลิต และเป็นแหล่งส่งออกผลิตภัณฑ์งานแกะสลักไม้ที่ใหญ่่แห่งหนึ่งของภาคเหนือตอนบน จนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว สำคัญที่ชาวไทยและต่างประเทศต้องการแวะมาเยี่ยมชมและ หาซื้อสินค้า บ้านถวายในปัจจุบันมีการดำเนินงานธุรกิจการค้า งานแกะสลักไม้และงานฝีมืออื่นๆ มากกว่า 1,000 ร้าน
จังหวัด เชียงใหม่ โดยกระทรวงมหาดไทย ได้คัดเลือกให้เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP ( OTOP Tourism Village ) ในแต่ละวัน มีผู้คนมาเยี่ยมชมและหาซื้อสินค้าเป็นจำนวนมาก ทำให้บ้านถวาย เป็นหมู่บ้านที่มีเศรษฐกิจดีและเป็น หมู่บ้านตัวอย่างในด้านการส่งเสริมการมีรายได้จากงานศิลปหัตถกรรมและ ภูมิปัญญาท้องถิ่น งานแกะสลักไม้ที่นิยมทำกันในระยะแรก เป็นงานแกะสลักไม้สักให้เป็นภาพที่สะท้อนความเป็นชนบท สะท้อนธรรมชาติ ภาพเกี่ยวกับพุทธประวัติ ภาพรามเกียรติ์ และวรรณกรรมอื่นๆ นอกจากนี้ ยังมีภาพสัตว์ในวรรณคดี อาทิ ครุฑ สิงห์ เป็นต้น
ใน ปี พ.ศ. 2523 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 ได้นำผลงานจากบ้านถวายไปจัดแสดงที่ห้องแสดงสินค้าของศูนย์ส่งเสริม อุตสาหกรรมภาคที่ 1 (ถนนทุ่งโฮเต็ล อำเภอเมืองเชียงใหม่) และพัฒนาผลงานเพื่อส่งเสริมด้านคุณภาพผลผลิต การตลาด การบริการให้คำปรึกษาแนะนำ
ระหว่าง ปี พ.ศ. 2528 – 2535 เป็นช่วงเวลาจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ศิลปหัตถกรรมบ้านถวายให้เป็นที่รู้จัก โดยเฉพาะในปี 2531 มีการจัดงานประชาสัมพันธ์บ้านถวายเป็นครั้งแรก ณ ลานหน้าที่ว่าการอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ส่วนการจัดงานประชาสัมพันธ์บ้านถวาย ครั้งที่ 3 เป็นต้นมา ได้กำหนดให้จัดงานศิลปหัตถกรรมบ้านถวายเป็นประจำทุกปี และจัดขึ้นในบริเวณหมู่บ้านถวาย ในช่วงปลายเดือนมกราคม ถึง สัปดาห์แรกของเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี เพื่อให้สอดคล้องกับฤดูกาลการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่ กิจกรรมในงาน ประกอบด้วย การจัดนิทรรศการแสดงผลิตภัณฑ์และสินค้าหัตถกรรมไม้แกะสลักบ้านถวาย การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไม้แกะสลัก การประกวดผลงานการแกะสลักไม้ รวมทั้งหัตถกรรมอื่นๆ ของบ้านถวาย การแสดงพื้นบ้าน การจัดงานได้รับการสนับสนุนจากศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรม ภาคที่ 1 และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
การเริ่มต้นอาชีพศิลปหัตถกรรมในหมู่บ้าน ในอดีต ชาวบ้านถวายประกอบอาชีพการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ ต่อมาเกิดฝนแล้งเป็นเหตุให้ทำการเกษตรไม่ได้ผล ประมาณปี พ.ศ. 2500 – 2505 ชาวบ้านเริ่มออกไปหางานทำนอกหมู่บ้าน บางคนไปรับจ้างทำงานในตัวเมืองเชียงใหม่ ในจำนวนนี้มีชาวบ้านถวาย 3 คน คือ พ่อหนานแดง พันธุสา (หนาน หมายถึง ผู้ที่เคยบวชเป็นพระ) พ่อใจ๋มา อิ่นแก้ว และพ่ออุ่นเรือน พันธุศาสตร์ ได้ไปรับจ้างทำงานที่ร้านน้อมศิลป์ ถนนวัวลาย อำเภอเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเป็นร้านแกะสลักไม้ ได้เรียนรู้วิธีการแกะสลักไม้จาก สล่ามูล สุรินทร์ (สล่า หมายถึง ช่างฝีมือ) ของร้านน้อมศิลป์ ได้ฝึกหัดการแกะสลักไม้จนเกิดความชำนาญ เมื่อมีเวลาว่างจากการทำงานในร้านน้อมศิลป์ได้รับจ้างทำงานแกะสลักไม้ที่ บ้าน โดยมีญาติพี่น้องเป็นผู้ช่วยเหลือ เริ่มจากงานง่าย ๆ เช่น ขัดไม้ ตัดไม้ให้ได้รูปแบบตามต้องการ ทำความสะอาดและจัดเก็บเครื่องมือ เป็นต้น หลังจากนั้นจึงฝึกงานที่ยากขึ้น คือเริ่มจากการฝึกแกะสลักไม้ด้วยตนเองจนชำนาญ สามารถสืบสานความเป็น “ สล่า ” สืบต่อกันมา
หมู่บ้านถวาย ซึ่งช่างแกะสลักไม้ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ชาย ในส่วนของงานผู้หญิงก็จะช่วยขัดไม้เวลาแกะสลักเสร็จแล้ว เพื่อให้ดูเนียน หรือบางชิ้นผู้หญิงก็จะช่วยตกแต่ง ในกรณีที่ต้องการทำให้เหมือนของเก่า เช่น การลงรัก การปิดกระจก การเดินเส้น
ในระยะต่อมา เมื่อมีงานแกะสลักไม้มากยิ่งขึ้น สล่าที่เคยไปรับจ้างแกะสลักไม้ในตัวเมืองเชียงใหม่ ได้หันมาทำงานแกะสลักไม้ด้วยตนเองที่บ้าน ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้จำนวนสล่าแกะสลักไม้มีมากขึ้นตาม ลำดับ เกิดงานแกะสลักไม้ที่มีศิลปะลวดลายที่แปลกใหม่ ประณีตและวิจิตรพิสดารมากยิ่งขึ้น ด้วยความใส่ใจและความมุมานะที่จะพัฒนางาน ทำให้งานแกะสลักไม้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย และได้รับความนิยมจากผู้คนในหมู่บ้านถวายทั้งชายและหญิง จนกลายเป็นอาชีพหลักแทนการเกษตรกรรมที่เคยทำมาแต่เดิม ผู้ประกอบการงานแกะสลักไม้ต่างมีรายได้เพิ่มขึ้น
เมื่องานแกะสลักไม้ ได้รับการนิยมอย่างกว้างขวางจากชาวไทย และชาวต่างประเทศ งานแกะสลักไม้ที่เคยทำในครอบครัวได้ กลายเป็นธุรกิจการค้า โดยการตั้งร้านแสดงและจำหน่าย สิินค้าไม้แกะสลักในบริเวณบ้านของตนเอง บางส่วน ก็รวมตัว กันเป็นกลุ่มร้านค้า การขยายตัว ด้านธุรกิจการค้าดังกล่าว ทำให้บ้านถวายเป็นที่รู้จักของคนโดยทั่วไปในฐานะศูนย์กลาง การผลิต และเป็นแหล่งส่งออกผลิตภัณฑ์งานแกะสลักไม้ที่ใหญ่่แห่งหนึ่งของภาคเหนือตอนบน จนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว สำคัญที่ชาวไทยและต่างประเทศต้องการแวะมาเยี่ยมชมและ หาซื้อสินค้า บ้านถวายในปัจจุบันมีการดำเนินงานธุรกิจการค้า งานแกะสลักไม้และงานฝีมืออื่นๆ มากกว่า 1,000 ร้าน
จังหวัด เชียงใหม่ โดยกระทรวงมหาดไทย ได้คัดเลือกให้เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP ( OTOP Tourism Village ) ในแต่ละวัน มีผู้คนมาเยี่ยมชมและหาซื้อสินค้าเป็นจำนวนมาก ทำให้บ้านถวาย เป็นหมู่บ้านที่มีเศรษฐกิจดีและเป็น หมู่บ้านตัวอย่างในด้านการส่งเสริมการมีรายได้จากงานศิลปหัตถกรรมและ ภูมิปัญญาท้องถิ่น งานแกะสลักไม้ที่นิยมทำกันในระยะแรก เป็นงานแกะสลักไม้สักให้เป็นภาพที่สะท้อนความเป็นชนบท สะท้อนธรรมชาติ ภาพเกี่ยวกับพุทธประวัติ ภาพรามเกียรติ์ และวรรณกรรมอื่นๆ นอกจากนี้ ยังมีภาพสัตว์ในวรรณคดี อาทิ ครุฑ สิงห์ เป็นต้น
ใน ปี พ.ศ. 2523 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 ได้นำผลงานจากบ้านถวายไปจัดแสดงที่ห้องแสดงสินค้าของศูนย์ส่งเสริม อุตสาหกรรมภาคที่ 1 (ถนนทุ่งโฮเต็ล อำเภอเมืองเชียงใหม่) และพัฒนาผลงานเพื่อส่งเสริมด้านคุณภาพผลผลิต การตลาด การบริการให้คำปรึกษาแนะนำ
ระหว่าง ปี พ.ศ. 2528 – 2535 เป็นช่วงเวลาจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ศิลปหัตถกรรมบ้านถวายให้เป็นที่รู้จัก โดยเฉพาะในปี 2531 มีการจัดงานประชาสัมพันธ์บ้านถวายเป็นครั้งแรก ณ ลานหน้าที่ว่าการอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ส่วนการจัดงานประชาสัมพันธ์บ้านถวาย ครั้งที่ 3 เป็นต้นมา ได้กำหนดให้จัดงานศิลปหัตถกรรมบ้านถวายเป็นประจำทุกปี และจัดขึ้นในบริเวณหมู่บ้านถวาย ในช่วงปลายเดือนมกราคม ถึง สัปดาห์แรกของเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี เพื่อให้สอดคล้องกับฤดูกาลการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่ กิจกรรมในงาน ประกอบด้วย การจัดนิทรรศการแสดงผลิตภัณฑ์และสินค้าหัตถกรรมไม้แกะสลักบ้านถวาย การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไม้แกะสลัก การประกวดผลงานการแกะสลักไม้ รวมทั้งหัตถกรรมอื่นๆ ของบ้านถวาย การแสดงพื้นบ้าน การจัดงานได้รับการสนับสนุนจากศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรม ภาคที่ 1 และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย