เครื่องเขิน

ประวัติความเป็นมาของเครื่องเขินกล่าวกันว่ามีจุดเริ่มต้นมาจากจีน โดยกรรมวิธี การทำเครื่องเขินได้เริ่มในสมัยฉางโจวเมื่อประมาณสี่พันปีมาแล้วโดยพบหลัก ฐานชิ้น ส่วนและตัวภาชนะเครื่องเขินในหลุมศพของบุคคลสำคัญหลายแห่งต่อมาวัฒนธรรม เครื่องเขินคงได้มีการแพร่หลายไปสู่เกาหลี ญี่ปุ่นจีนตอนใต้ เวียดนาม และเอเชียอาค เนย์แต่ก็มีแนวคิดแยกออกไปที่เชื่อว่าวัฒนธรรมเครื่องเขินน่าจะเกิดขึ้นก่อน ในเขต มณฑลยูนานและรัฐฉานเพราะเป็นแหล่งวัตถุดิบที่อุดมสมบูรณ์สำหรับการผลิต เครื่องเขิน อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ ๆ มีการผลิต และใช้เครื่องเขินอย่างเข้มข้น ต่อมาค่อยแพรหลายเข้า ไปสู่จีนภายหลัง คนจีนรู้จักพัฒนาความรู้และการผลิตตลอดจนเก็บรักษาที่เก่งและดีกว่า ทำให้มีหลักฐานเกี่ยวกับเครื่องเขินค่อนข้างดีและสมบูรณ์ตราบเท่าปัจจุบันนี้

เครื่องเขินเป็นงานศิลปกรรมอีกอย่างหนึ่งของล้านนาและเป็นสิ่งของเครื่องใช้ ที่เกี่ยวข้องอยู่ในชีวิตประจำวันของชาวล้านนาในอดีตเป็นอย่างมากจนอาจจะกล่าว ได้ว่าเครื่องเขินนั้นเป็นผลิตผลทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตและแสดงถึง คุณลักษณะของชาวล้านนาได้เป็นอย่างดี เมื่อกล่าวถึงเครื่องเขินแล้ว โดยทั่วไปจะ หมายถึง ภาชนะเครื่องใช้ที่สานด้วยไม้ไผ่แล้วเคลือบด้วยรักเขียนลวดลายประดับ ตกแต่งด้วยชาดทองคำเปลวหรือเงินเปลวที่ผลิตขึ้น โดยชาวเชียงใหม่ ที่มีเชื้อสายสืบมาจากไทเขินแต่ โบราณในพจนานุกรมได้ให้ความหมายไว้ว่าหมายถึง เครื่องสานที่ลงรักฉาบชาด ทองคำเปลวหรือเงินเปลว ที่ผลิตขึ้นโดย ชาวเชียงใหม่ที่มีเชื้อสายสืบมาจาก ไทเขินแต่โบราณ ในพจนานุกรมได้ให้ความหมาย ไว้ว่าหมายถึงเครื่องสานที่ลงรักฉาบชาดสิ่งของ เครื่องใช้ในลักษณะเช่นเดียวกันนี้ในภาคกลาง ก็เคยปรากฎมีอยู่แต่เรียกว่า"เครื่องกำมะลอ"

โดยข้อเท็จจริงแล้วชาวล้านนาแต่ดั้งเดิมมิได้มีคำเรียกผลิตภัณฑ์งานเครื่องสาน ที่ลงรักฉาบชาดเหล่านี้เป็นการเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่งแต่ประการใด คงเรียกสิ่ง ของเครื่องใช้ประเภทนี้รวม ๆ ไปว่าครัวฮักครัวหางบ้าง เครื่องฮักเครื่องหางหรือ เครื่องฮักเครื่องคำ (ทอง) บ้างทั้งนี้เป็นไปตามลักษณะการประดับตกแต่งว่าจะตก แต่งด้วยชาดหรือปิดทองคำเปลวและจะเรียกชื่อผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นไปตามหน้าท ี่การใช้สอยของภาชนะนั้น ๆ เช่น ขันดอก ขันหมาก ขันโอ หีบผ้า แอ๊บ อูบ ปุง เป็นต้น ในการที่ต้องการเรียกให้เห็นถึงความแตกต่างของวัสดุที่ใช้ทำภาชนะนั้น ก็จะเรียกภาชนะนั้นให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น ขันอัก (พานที่เป็นเครื่องรัก) หรือบางที ก็อาจจะเรียกไปตามวัสดุที่ใช้ตกแต่งว่า ขันฮักขันหาง หรือ ขันฮักขันคำ (ทอง) เป็นต้นส่วนคำว่า "เครื่องเขิน" นั้นคงเป็นคำเรียกขานที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้อาจ เป็นคำเรียกของคนภาคกลางหรือหน่วยงานราชการเมื่อประมาณ 100 ปี ที่แล้วที่ เรียกไปตามชื่อกลุ่มชนไทยเขินหรือไทยขืน ซึ่งเป็นผู้ผลิตสิ่งของเครื่องใช้ชนิดนี้ ไว้ใช้สอยในครัวเรือนและจำหน่ายเป็นสินค้าให้คนอื่น ๆ ได้ใช้กันโดยทั่วไปดังนั้น คำว่า "เครื่องเขิน" จึงเป็นชื่อที่เรียกไปตามชื่อของหมู่บ้านและกลุ่มชนที่ผลิต ซึ่งรวมหมายถึงเครื่องใช้ไม้สอยของชาวเขินนั่นเอง

แหล่งผลิตเครื่องเขินแหล่งใหญ่ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีและยังคงมีการผลิต เครื่องเขินเป็นสินค้าจำหน่ายให้แก่ผู้คนทั่วไปนั้นจะอยู่ที่บ้านเขินนันทารามในเขตเมือง เชียงใหม่ชาวบ้านนันทารามจะกล่าวกันว่าพวกตนนั้นเดิมมีถิ่นฐานอยู่ที่เมืองเชียงตุง ซึ่งอยู่ในแถบที่ราบลุ่มแม่น้ำขืนหรือแม่น้ำเขิน ในเขตรัฐฉาน ประเทศพม่าในทุกวันนี้ ดังนั้นจึงมีชื่อเรียกขานกลุ่มชนนี้ว่า "ชาวขืน" หรือ "เขิน" ในช่วงเวลาเก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมืองเพื่อฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่นั้นชาวเขินได้ถูกกวาดต้อนมาเป็นไพร่พลเมือง ของเมืองเชียงใหม่อยู่หลายแห่งกลุ่มชาวเขินที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ในบริเวณกำแพงเมือง ชั้นนอกฟากประตูเชียงใหม่และบริเวณโดยรอบวัดนันทารามนั้นคงจะเป็นไพร่พลเมือง ของเมืองเชียงใหม่อยู่หลายแห่งกลุ่มชาวเขินที่ตั้งบ้านเรือน อยู่ในบริเวณกำแพงเมืองชั้นนอกฟากประตูเชียงใหม่และ บริเวณโดยรอบวัดนันทารามนั้นคงจะเป็นไพร่พลชั้นดีด้วย มีความรู้ความชำนาญในการทำสิ่งของเครื่องใช้ประเภท เครื่องฮักเครื่องหางจึงถูกกำหนดให้อยู่ภายในเมืองและคง มีหน้าที่ผลิตเครื่องฮักเครื่องหางสำหรับเจ้านายในเมือง เชียงใหม่ในระยะแรกคงจะมีการผลิตสำหรับเจ้านายและ ใช้สอยเองภายในครัวเรือนต่อมาคงได้มีการผลิตเป็นสินค้า จำหน่ายให้แก่ชาวเชียงใหม่ตลอดจนชาวเมืองอื่น ๆ อีกด้วยดังนั้นสินค้าที่เป็นเครื่อง ฮักเครื่องหางที่ผลิตโดยชาวเขินจึงถูกเรียกว่า เครื่องเขิน ในเวลาต่อมากลุ่มชาวเขิน บ้านนันทารามนั้นจะถูกกวาดต้อนให้อพยพมาอยู่ในเมืองเชียงใหม่ตั้งแต่ครั้งใดไม่ ปรากฎแน่ชัด

จากการตรวจสอบภาคเอกสารปรากฎว่าในช่วงเวลาฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่และ ดินแดนล้านนา ในสมัยพระเจ้ากาวิละนั้น ได้มีการยกทัพไปตีหัวเมืองต่าง ๆ ของแคว้น เชียงตุงหลายครั้ง แต่สำหรับการตีเมืองเชียงตุงมีเพียงครั้งเดียวในพ.ศ.2345 ในครั้ง นั้นไม่ได้ไพร่พลชาวเมืองเชียงตุงมาเป็นพลเมืองของเชียงใหม่เพราะเจ้าเมืองเชียงตุง ยกครอบครัวไพร่พลเมืองหนีออกจากเมืองไปต่อมาพ.ศ.2347 เจ้าหอคำเมืองเชียงตุง จึงได้สวามิภักดิ์พาชาวเมืองและไพร่พลลงมาเป็นข้าราชการอยู่ในเมืองเชียงใหม่และใน พ.ศ.2395 ได้มีการยกทัพไปตีเมืองเชียงตุงอีกครั้งแต่ไม่ได้เนื่องจากมีเหตุจำเป็นต้อง ถอยทัพกลับคืนมาดังนั้นจึงเชื่อว่ากลุ่มชาวเขินบ้านนันทารามนั้นคงจะเป็นกลุ่มที่อพยพ เข้ามาอยู่ในเมืองเชียงใหม่เมื่อครั้งเจ้าเมืองเชียงตุงได้พาไพร่พลเข้ามาสวามิภักดิใน พ.ศ. 2347 โดยเหตุที่กลุ่มชาวเขินเมืองเชียงตุงกลุ่มนี้เป็นไพร่พลเมืองชั้นดีและมีผีมือ ในการทำเครื่องฮักเครื่องหางจึงให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตกำแพงเมืองชั้นนอกซึ่งชาวเขิน เหล่านี้นี่เองที่ได้สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เครื่องเขินสืบทอดต่อมาจนทุกวันนี้

เครื่องเขินมิใช่เป็นสิ่งของเครื่องใช้ชนิดที่เพิ่งเข้ามาสู่ดินแดนล้านนาในยุคฟื้นฟู เมืองเชียงใหม่แต่เครื่องเขินนั้นถือเป็นสิ่งของเครื่องใช้ที่มีใช้อยู่อย่างแพร่หลายในล้านนา มาก่อนหน้านั้นนานแล้ว (เมื่อราวปี พ.ศ. 2100 ) ดังปรากฏหลักฐานในพงศาวดารพม่าว่า เมื่อพม่าเข้ายึดครองเมืองเชียงใหม่ได้กวาดต้อนเอาชาวเมืองเชียงใหม่และช่างผีมือไปไว้ ในเมืองพม่าหลายครั้ง ปัจจุบันชาวล้านนาเหล่านั้นยังคงมีการทำเครื่องเขินชนิดขูดขีดเป็น ลายเส้น แล้วถมลายเส้นด้วยสีต่าง ๆ อยู่ที่เมืองพุกามซึ่งพม่าเรียกเครื่องเขินชนิดนี้ว่า "โยนเถ่" ซึ่งแปลว่า เครื่องยวน หรือ เครื่องประดิษฐ์ขี้นโดยชาวไทยยวนหรือล้านนาเครื่อง เขินของพม่ามีลวดลายประดับแบบหนึ่งซึ่งว่า "ซินเม่" ซึ่งคำว่าซินเม่นี้ หมายถึง เชียงใหม่ น่าจะเป็นลวดลายดั้งเดิมจากเชียงใหมตั้งแต่ปลายสมัยราชวงค์มังราย ปี พ.ศ. 2100

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวไว้ในเรื่องเที่ยวพม่า พ.ศ.2478 ว่าได้รับความรู้แปลกทางโบราณคดี เรื่องการทำของลงรักในเมืองพม่าไว้อย่างหนึ่ง จะกล่าวไว้ตรงนี้ด้วย "ฉันได้เห็นในหนังสือพงศาวดารพม่าฉบับหนึ่งว่าวิชาทำนอง ลงรักนั้น พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองได้ไปจากเมืองไทย (คือว่าได้ช่างรักไทยไปเมื่อ ตีกรุงศรีอยุธยา ได้ใน พ.ศ. 2112 ถ้าจริงดังว่าก็พึงสันนิษฐานว่าครั้งนั้นได้ไปแต่ วิธีทำรัก "น้ำเกลี้ยง" กับทำ "ลายรดน้ำ" จึงมีของพม่าทำเช่นนั้นแต่โบราณแต่วิธี ที่ขูดพื้นรักลงไปเป็นรูปภาพ และลวดลายต่าง ๆ นั้นพวกช่างชาวเมืองพุกามเขา บอกฉันว่าพึ่งได้วิธีไปจากเมืองเชียงใหม่ เมื่อครั้งหลัง"

มีหลักฐานบางอย่างที่ชี้ให้เห็นถึงการใช้ยางรักสำหรับเคลือบผิวภาชนะต่าง ๆ ก่อนยุคราชวงค์ มังรายคือในสมัยหริภูญชัย เช่นที่อาจารย์ จอห์นชอร์ ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเครื่องปั้นดินเผาไทยได้ค้นพบว่า เครื่องปั้นดินเผาบางชิ้นในวัฒนธรรมหริภูญชัยมีการ เคลือบยางรัก ส่วนเครื่องจักสานและไม้ที่เคลือบด้วย ยางรักในยุคนั้น คงเปื่อยผุและสลายไปกับกาลเวลา เพราะเป็นสารอินทรีย์ ถ้าไม่เก็บรักษาอย่างดีทำให้ ยางรักแปรสภาพภายในไม่กี่สิบปีส่วนที่ติดอยู่ดินเผาในหลุมศพนั้นบังเอิญมีการห่อหุ้ม อย่างดี ทำให้ยางรักบางส่วนตกค้างเป็นหลักฐานให้เห็นถึงปัจจุบัน

ที่พิพิธภัณฑ์ Tokugawa นครนาโกย่า ประเทศญี่ปุ่น มีการจัดแสดงของใช้ส่วนตัว ของโชกุนหลาย ๆ อย่าง มีของใช้ชิ้นหนึ่งเป็นตลับเครื่องเขินทรงกลมที่เป็นแอ๊ปหมาก (ตลับหมาก) ของเชียงใหม่ สีดำแดงตามแบบฉบับของเชียงใหม่ทุกประการ แต่คำอธิบาย บอกว่าเป็นของขวัญจากอยุธยาได้มาเมื่อปีพ.ศ.2200 เข้าใจว่าเครื่องเขินคงแพร่หลาย จากเชียงใหม่ลงมาถึงอยุธยาและเป็นของส่งออกตามเส้นทางค้าขายชายทะเลด้วย

การผลิตเครื่องเขินต้องใช้วัสดุอุปกรณ์อันประกอบด้วย
โครงภาชนะ โครงภาชนะได้จากวัสดุพวกไม้ไผ่ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "ต้นเฮียะ" ซึ่งลำใหญ่ ยาว ปล้องห่างมากมีเนื้ออ่อนเหนียวสามารถขดเป็นรูปภาชนะได้ง่าย ส่วนใหญ่ จะมีมากในภาคเหนือเท่านั้นนำไม้ไผ่มาจักเป็นตอกบาง ๆ จึงสานหรือขดเป็นรูปร่างตาม หุ่นภาชนะที่จะทำ วัสดุที่นิยมใช้ทำโครงรองลงมา ได้แก่ ไม้ โลหะต่าง ๆ พลาสติก ดินเผา โครงอัดจำพวกไม้อัดกระดาษอัด น้ำรัก

น้ำรักที่ใช้ในการทาเครื่องเขินต้องนำ มาผสมกับน้ำมันสน กวนให้เข้ากันดี กรอง ด้วยผ้าขาวบาง 2 ชั้น ตรงกลางใสกระดาษ สา รอง 4 - 5 ชั้น รักที่กรองได้ต้องใส่ภาชนะ ปิดด้วยกระดาษสีน้ำตาลชุบน้ำ เพื่อไม่ให้ น้ำรักแห้งและสกปรก

รักสมุกเป็นรักที่ผสมกับส่วนผสมอื่น ๆ ใช้ทารองพื้นหรือทาอุดส่วนที่เป็นร่องหรือทา ปะมุมเพื่อให้ผิวภาชนะเรียบ สมุกรองพื้นได้จากน้ำรักผสมกับผงอิฐ ผงดินขาว ในอัตรา ส่วน 5 : 5 : 1 โดยน้ำหนัก ส่วนสมุกละเอียดได้จากน้ำรักผสมกับผงอิฐขาว ในอัตราส่วน ที่เท่ากัน

น้ำยาหรดานเป็นน้ำยาที่ใช้เขียนลายทำจากหรดานซึ่งเป็นหินสีเหลืองอ่อนนำมาบด ให้เป็นผงละเอียดผสมด้วยยางมะขวิดและน้ำฝักส้มป่อย เมื่อผสมเข้ากันดีแล้วต้องนำ มากรองเอากากออกเสียก่อนจึงนำไปใช้ได้
ทองคำเปลวเงินเปลวชาด
เป็นวัสดุที่ใช้ปิดทับหรืออุดลงไปบนผิวภาชนะเพื่อให้เกิดลวดลายและสีสันตาม ที่ต้องการ

เครื่องมือที่ใช้ในการทำเครื่องเขิน ได้แก่ มีดปลายตัด มีดปลายแหลม มีดขุด สมุกยาร่อง มีดเซาะร่อง เหล็กจาร แปรงทารัก กระดาษทราย หินขัด




btemplates