เครื่องมือช่างแกะสลักไม้
เครื่องมือช่างแกะสลักไม้
เครื่องมือของงานช่างแกะสลักที่สำคัญ ๆ ก็มี สิ่วและฆ้อน
สิ่ว คือ สิ่งที่ทำจากโลหะที่เป็นเหล็กกล้าแข็งและเหนียว ทำให้เกิดความคมด้วยการตี การเจียร และตกแต่งให้เป็นหน้าต่าง ๆ เช่นหน้าตรง หน้าโค้ง ซึ่งมีขนาดต่าง ๆ กัน และสิ่วที่จะใช้แกะสลักได้ดีนั้น จะตรงมีความคม สิ่วที่ดีควรจะทำจากตะไบ และเหล็กสปริง
สิ่วที่ใช้ในการแกะสลัก
- สิ่วหน้าตรง ใช้สำหรับตอกเดินเส้นในแนวตรงและขุดพื้น ซึ่งมีหลายขนาด
- สิ่วหน้าโค้ง โค้งเล็บมือ ใช้สำหรับตอกเดินเส้นในส่วนที่เป็นเส้นโค้งและใช้ปาดแต่งแกะแรลาย
- สิ่วปากเสี้ยว ลักษณะสิ่งจะเป็นมุกเฉียงไปข้างหนึ่งและจะมีเป็นคู่ คือเสี้ยวซ้ายและเสี้ยวขวา
ฆ้อนไม้ คือ ฆ้อนที่ทำจากไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้ชิงชัน ไม้แก่นมะขาม ขนาดตัวฆ้อนมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5 – 6 นิ้ว เหตุที่ใช้ฆ้อนไม้เพราะจะได้ไม่ทำให้ด้ามสิ่วซึ่งเป็นเหล็กชำรุดเสียหาย และสามารถควบคุมน้ำหนักไม้อีกทั้งยังเบามือ
การบำรุงรักษาเครื่องมือของช่างแกะสลักไม้
สิ่ว นับว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับช่างแกะสลักเป็นอย่างยิ่ง ถ้าสิ่วที่นำมาใช้ในการแกะสลักนั้นไม่มีความคม ผลงานที่แกะออกมานั้นความงามก็จะด้อยลง เพราะความของสิ่วที่นำมาแกะและปาดลงบนเนื้อไม้จะทำให้ลวดลายสวยงามคมชัด และมีความเด็ดขาดอยู่ในตัว ทั้งนี้ก็เพราะฝีมือช่างประกอบกับการมีเครื่องมือดี และรู้จักใช้ให้เป็น จึงจะเป็นสิ่งที่ช่วยให้ผลงานดียิ่งขึ้น ฉะนั้นช่างจึงจำเป็นที่จะต้องการรู้จักวิธีการลับสิ่วที่จะนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการแกะสลักไม้นั่นให้มีความคมอยู่เสมอ
อุปกรณ์ในการลับสิ่วก็คือ หิน ซึ่งต้องใช้หิน 3 ชนิด
1. หินหยาบ หรือหินกากเพชร
2. หินธรรมชาติ
3. หินละเอียดหรือหินลับมีดโกน
การลับเครื่องมือของช่างแกะสลักไม้
1. การลับสิ่ว จะต้องเริ่มลับสิ่วด้วยหินชนิดหยาบ หรือหินกากเพชรก่อน จึงนำมาลับกับหินธรรมชาติ แล้วก็นำไปลับกับหินชนิดละเอียดหรือหินมีดโกน
2. การลับสิ่วจะต้องคอยหยอดน้ำอยู่เสมอ
3. สิ่วที่จะนำมาลับกับหิน จะต้องดูว่าถ้าเป็นสิ่วหน้าตรงก็จะต้องลับกับหินที่มีผิวหน้านั้นราบเรียง จึงจะใช้สิ่วหน้าตรงลับได้
ส่วนสิ่วหน้าโค้ง ก็ใช้ลับกับหิน ที่มีร่องโค้งพอดีกับหน้าสิ่ว
4. การสับสิ่วก็จะต้องให้ด้านหน้าของสิ่วอยู่ในแนวขนาน ซึ่งต้องวางระนาบกับพื้นผิวของหินให้แนบสนิท และถูไปมาจนหน้าของสิ่วสึกหรอเท่ากัน แล้วกลับสิ่วเพื่อลับด้านหลังบ้าง การลับด้านหลังนั้น จะต้องทำประมาณ 2 – 3 องศา เพื่อให้เกิดสันและมีความคมจับอยู่ที่ส่วนปลายหน้าของสิ่ว
5. ถ้าสิ่วเหล็กอ่อน เวลาลับคมสิ่วก็จะกลับไปกลับมา เราจะต้องนำมาชุบด้วยวิธีการเปาแล้วชุบด้วยน้ำ เพื่อให้เกิดความแข็งขึ้น
แต่ถ้าเหล็กแก่เกินไปใช้แกะสลักคมของสิ่วก็จะหร่อยลักษณะเหมือนฟันหนูก็ใช้ไม้ขีดจุดไฟรนสัก 2 ก้าน เมื่อเป็นแล้วก็นำไปลับใหม่ให้คม จึงจะนำไปใช้ได้
6. เมื่อเลิกใช้สิ่วแล้วก็ควรจะเก็บใส่ห่อ หรือกล่องสำหรับเก็บสิ่ว จะได้สะดวกเวลานำมาใช้งาน
เทคนิคและวิธีการใช้สิ่วและฆ้อน
1. ช่างจะต้องรู้จักเลือกใช้หน้าสิ่วให้พอดีกับความโค้งของเส้นตัวลาย
2. รู้จักควบคุมน้ำหนักในการใช้ฆ้อนตอกลงบนด้ามสิ่ว และสิ่วจะต้องอยู่ในแนวที่ตรง คือ ตั้งฉากกับเนื้อไม้และจับสิ่วให้แข็งแรงมั่นคงแล้วตีฆ้อนควบคุมน้ำหนักให้สม่ำเสมอแน่นอนลงบนด้ามของสิ่ว
3. การก้าวสิ่ว ให้ขยับสิ่วเดินหน้าทีละครึ่งหน้าของสิ่วแล้วตอกเดินตามเส้น ถ้าเป็นเส้นตรงให้ใช้สิ่วหน้าตรง ถ้าเป็นเส้นโค้งให้ใช้สิ่วหน้าโค้ง
4. เมื่อสิ่วคับวง คือไม่เป็นไปตามเส้นก็ต้องเปลี่ยนสิ่วหน้าใหม่ให้หน้าของสิ่วเข้ากับเส้นได้พอดีแล้วจึงตอกด้วยฆ้อนต่อไป
เครื่องมือของงานช่างแกะสลักที่สำคัญ ๆ ก็มี สิ่วและฆ้อน
สิ่ว คือ สิ่งที่ทำจากโลหะที่เป็นเหล็กกล้าแข็งและเหนียว ทำให้เกิดความคมด้วยการตี การเจียร และตกแต่งให้เป็นหน้าต่าง ๆ เช่นหน้าตรง หน้าโค้ง ซึ่งมีขนาดต่าง ๆ กัน และสิ่วที่จะใช้แกะสลักได้ดีนั้น จะตรงมีความคม สิ่วที่ดีควรจะทำจากตะไบ และเหล็กสปริง
สิ่วที่ใช้ในการแกะสลัก
- สิ่วหน้าตรง ใช้สำหรับตอกเดินเส้นในแนวตรงและขุดพื้น ซึ่งมีหลายขนาด
- สิ่วหน้าโค้ง โค้งเล็บมือ ใช้สำหรับตอกเดินเส้นในส่วนที่เป็นเส้นโค้งและใช้ปาดแต่งแกะแรลาย
- สิ่วปากเสี้ยว ลักษณะสิ่งจะเป็นมุกเฉียงไปข้างหนึ่งและจะมีเป็นคู่ คือเสี้ยวซ้ายและเสี้ยวขวา
ฆ้อนไม้ คือ ฆ้อนที่ทำจากไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้ชิงชัน ไม้แก่นมะขาม ขนาดตัวฆ้อนมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5 – 6 นิ้ว เหตุที่ใช้ฆ้อนไม้เพราะจะได้ไม่ทำให้ด้ามสิ่วซึ่งเป็นเหล็กชำรุดเสียหาย และสามารถควบคุมน้ำหนักไม้อีกทั้งยังเบามือ
การบำรุงรักษาเครื่องมือของช่างแกะสลักไม้
สิ่ว นับว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับช่างแกะสลักเป็นอย่างยิ่ง ถ้าสิ่วที่นำมาใช้ในการแกะสลักนั้นไม่มีความคม ผลงานที่แกะออกมานั้นความงามก็จะด้อยลง เพราะความของสิ่วที่นำมาแกะและปาดลงบนเนื้อไม้จะทำให้ลวดลายสวยงามคมชัด และมีความเด็ดขาดอยู่ในตัว ทั้งนี้ก็เพราะฝีมือช่างประกอบกับการมีเครื่องมือดี และรู้จักใช้ให้เป็น จึงจะเป็นสิ่งที่ช่วยให้ผลงานดียิ่งขึ้น ฉะนั้นช่างจึงจำเป็นที่จะต้องการรู้จักวิธีการลับสิ่วที่จะนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการแกะสลักไม้นั่นให้มีความคมอยู่เสมอ
อุปกรณ์ในการลับสิ่วก็คือ หิน ซึ่งต้องใช้หิน 3 ชนิด
1. หินหยาบ หรือหินกากเพชร
2. หินธรรมชาติ
3. หินละเอียดหรือหินลับมีดโกน
การลับเครื่องมือของช่างแกะสลักไม้
1. การลับสิ่ว จะต้องเริ่มลับสิ่วด้วยหินชนิดหยาบ หรือหินกากเพชรก่อน จึงนำมาลับกับหินธรรมชาติ แล้วก็นำไปลับกับหินชนิดละเอียดหรือหินมีดโกน
2. การลับสิ่วจะต้องคอยหยอดน้ำอยู่เสมอ
3. สิ่วที่จะนำมาลับกับหิน จะต้องดูว่าถ้าเป็นสิ่วหน้าตรงก็จะต้องลับกับหินที่มีผิวหน้านั้นราบเรียง จึงจะใช้สิ่วหน้าตรงลับได้
ส่วนสิ่วหน้าโค้ง ก็ใช้ลับกับหิน ที่มีร่องโค้งพอดีกับหน้าสิ่ว
4. การสับสิ่วก็จะต้องให้ด้านหน้าของสิ่วอยู่ในแนวขนาน ซึ่งต้องวางระนาบกับพื้นผิวของหินให้แนบสนิท และถูไปมาจนหน้าของสิ่วสึกหรอเท่ากัน แล้วกลับสิ่วเพื่อลับด้านหลังบ้าง การลับด้านหลังนั้น จะต้องทำประมาณ 2 – 3 องศา เพื่อให้เกิดสันและมีความคมจับอยู่ที่ส่วนปลายหน้าของสิ่ว
5. ถ้าสิ่วเหล็กอ่อน เวลาลับคมสิ่วก็จะกลับไปกลับมา เราจะต้องนำมาชุบด้วยวิธีการเปาแล้วชุบด้วยน้ำ เพื่อให้เกิดความแข็งขึ้น
แต่ถ้าเหล็กแก่เกินไปใช้แกะสลักคมของสิ่วก็จะหร่อยลักษณะเหมือนฟันหนูก็ใช้ไม้ขีดจุดไฟรนสัก 2 ก้าน เมื่อเป็นแล้วก็นำไปลับใหม่ให้คม จึงจะนำไปใช้ได้
6. เมื่อเลิกใช้สิ่วแล้วก็ควรจะเก็บใส่ห่อ หรือกล่องสำหรับเก็บสิ่ว จะได้สะดวกเวลานำมาใช้งาน
เทคนิคและวิธีการใช้สิ่วและฆ้อน
1. ช่างจะต้องรู้จักเลือกใช้หน้าสิ่วให้พอดีกับความโค้งของเส้นตัวลาย
2. รู้จักควบคุมน้ำหนักในการใช้ฆ้อนตอกลงบนด้ามสิ่ว และสิ่วจะต้องอยู่ในแนวที่ตรง คือ ตั้งฉากกับเนื้อไม้และจับสิ่วให้แข็งแรงมั่นคงแล้วตีฆ้อนควบคุมน้ำหนักให้สม่ำเสมอแน่นอนลงบนด้ามของสิ่ว
3. การก้าวสิ่ว ให้ขยับสิ่วเดินหน้าทีละครึ่งหน้าของสิ่วแล้วตอกเดินตามเส้น ถ้าเป็นเส้นตรงให้ใช้สิ่วหน้าตรง ถ้าเป็นเส้นโค้งให้ใช้สิ่วหน้าโค้ง
4. เมื่อสิ่วคับวง คือไม่เป็นไปตามเส้นก็ต้องเปลี่ยนสิ่วหน้าใหม่ให้หน้าของสิ่วเข้ากับเส้นได้พอดีแล้วจึงตอกด้วยฆ้อนต่อไป