มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ไม้แกะสลัก
มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน นี้ครอบคลุมเฉพาะ ไม้แกะสลัก ที่ทำหรือประดิษฐ์ขึ้นสำหรับใช้เป็น ของที่ระลึก หรือ ประดับตกแต่ง
ไม้แกะสลัก หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ทำขึ้นจากการนำไม้ทั้งชิ้นหรือไม้หลายชิ้นต่อกันมาแกะสลักให้มีลวดลาย ตามที่กำหนด อาจลงสี เคลือบสี หรือเคลือบผิวด้วยก็ได้
๑. ขอบข่าย
๑.๑ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนนี้ครอบคลุมเฉพาะไม้แกะสลักที่ทำหรือประดิษฐ์ขึ้นสำหรับใช้เป็นของที่ระลึก หรือประดับตกแต่ง
๒. บทนิยาม ความหมายของคำที่ใช้ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนนี้ มีดังต่อไปนี้ ๒.๑ ไม้แกะสลัก หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ทำขึ้นจากการนำไม้ทั้งชิ้นหรือไม้หลายชิ้นต่อกันมาแกะสลักให้มีลวดลาย ตามที่กำหนด อาจลงสี เคลือบสี หรือเคลือบผิวด้วยก็ได้
๓. คุณลักษณะที่ต้องการ
๓.๑ ลักษณะทั่วไป
๓.๑.๑ ต้องประณีต สวยงาม ไม่แตก หรือร้าว มีรูปแบบ รูปทรงที่เหมาะสมกับแต่ละผลิตภัณฑ์
๓.๑.๒ ต้องไม่มีรา และร่องรอยการเจาะกัดกินของแมลงปรากฏให้เห็นตลอดชิ้นงาน (ยกเว้นงานแกะสลัก ที่จงใจให้เห็นร่องรอยตามธรรมชาติ)
๓.๒ การประกอบ รอยต่อต้องประณีต เรียบร้อย ติดแน่น คงทน ไม่มีรอยแตก รอยร้าว หรือรอยตำหนิ ๓.๓ ลวดลาย ต้องประณีต แนบเนียน กลมกลืนตลอดชิ้นงาน
๓.๔ สี (ถ้ามี) ต้องเรียบ สม่ำเสมอ ไม่เป็นเม็ด และเมื่อลูบผลิตภัณฑ์แล้วสีต้องไม่ติดมือ
๓.๕ การเคลือบผิว (ถ้ามี) ต้องเรียบ สม่ำเสมอ ไม่เป็นเม็ด เป็นคราบ หรือหนาเกินไปจนทำให้ชิ้นงานขาดความสวยงาม เมื่อตรวจสอบโดยวิธีให้คะแนนตามข้อ ๗.๑ แล้ว ต้องได้คะแนนเฉลี่ยของแต่ละลักษณะจากผู้ตรวจสอบทุกคนไม่น้อยกว่า ๓ คะแนน และไม่มีลักษณะใดได้ ๑ คะแนน จากผู้ตรวจสอบคนใดคนหนึ่ง
๔. การบรรจุ
๔.๑ หากมีการบรรจุ ให้บรรจุไม้แกะสลักในภาชนะบรรจุที่สะอาด แห้ง เรียบร้อย และสามารถป้องกันความเสียหาย ที่อาจเกิดขึ้นกับไม้แกะสลักได้๕. เครื่องหมายและฉลาก
๕.๑ ที่ฉลากหรือภาชนะบรรจุไม้แกะสลักทุกหน่วย อย่างน้อยต้องมีเลข อักษร หรือเครื่องหมาย แจ้งรายละเอียด ต่อไปนี้ให้เห็นได้ง่าย ชัดเจน (๑) ชื่อเรียกผลิตภัณฑ์ เช่น ช้างไม้แกะสลัก ภาพทับหลังแกะสลัก (๒) ชนิดของไม้ที่ใช้ทำ (๓) ขนาดหรือมิติ (๔) เดือน ปีที่ทำ (๕) ข้อแนะนำในการใช้และการดูแลรักษา (๖) ชื่อผู้ทำ หรือสถานที่ทำ พร้อมสถานที่ตั้ง หรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน ในกรณีที่ใช้ภาษาต่างประเทศ ต้องมีความหมายตรงกับภาษาไทยที่กำหนดไว้ข้างต้น
๖. การชักตัวอย่างและเกณฑ์ตัดสิน
๖.๑ รุ่น ในที่นี้ หมายถึง ไม้แกะสลักที่ทำหรือส่งมอบหรือซื้อขายในระยะเวลาเดียวกัน
๖.๒ การชักตัวอย่างและการยอมรับ ให้เป็นไปตามแผนการชักตัวอย่างที่กำหนดต่อไปนี้
๖.๒.๑ การชักตัวอย่างและการยอมรับ สำหรับการทดสอบการบรรจุและเครื่องหมายและฉลาก ให้ชักตัวอย่าง โดยวิธีสุ่มจากรุ่นเดียวกัน จำนวน ๓ ตัวอย่าง เมื่อตรวจสอบแล้วทุกตัวอย่างต้องเป็นไปตามข้อ ๔. และ ข้อ ๕. จึงจะถือว่าไม้แกะสลักรุ่นนั้นเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
๖.๒.๒ การชักตัวอย่างและการยอมรับ สำหรับการทดสอบลักษณะทั่วไป การประกอบ ลวดลาย สี และการ เคลือบผิว ให้ใช้ตัวอย่างที่ผ่านการทดสอบตามข้อ ๖.๒.๑ แล้ว จำนวน ๓ ตัวอย่าง เมื่อตรวจสอบ แล้วตัวอย่างต้องเป็นไปตามข้อ ๓.๑ ถึงข้อ ๓.๕ จึงจะถือว่าไม้แกะสลักรุ่นนั้นเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
๖.๓ เกณฑ์ตัดสิน ตัวอย่างไม้แกะสลักต้องเป็นไปตามข้อ ๖.๒.๑ และข้อ ๖.๒.๒ ทุกข้อ จึงจะถือว่าไม้แกะสลักรุ่นนั้นเป็นไปตาม มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนนี้
๗. การทดสอบ
๗.๑ การทดสอบลักษณะทั่วไป การประกอบ ลวดลาย สี และการเคลือบผิว๗.๑.๑ ให้แต่งตั้งคณะผู้ตรวจสอบ ประกอบด้วยผู้ที่มีความชำนาญในการตรวจสอบไม้แกะสลักอย่างน้อย ๕ คน แต่ละคนจะแยกกันตรวจและให้คะแนนโดยอิสระ
๗.๑.๒ หลักเกณฑ์การให้คะแนน ให้เป็นไปตามตารางที่ ๑ ตารางที่ ๑ หลักเกณฑ์การให้คะแนน
ลักษณะที่ตรวจสอบ | เกณฑ์ที่กำหนด | ระดับการตัดสิน (คะแนน) | |||
ดีมาก | ดี | พอใช้ | ต้องปรับปรุง | ||
ลักษณะทั่วไป | ต้องประณีต สวยงาม ไม่แตก หรือร้าว มีรูป แบบ รูปทรงที่เหมาะสมกับแต่ละผลิตภัณฑ์ | 4 | 3 | 2 | 1 |
ต้องไม่มีรา และร่องรอยการเจาะกัดกินของ แมลงปรากฏให้เห็นตลอดชิ้นงาน (ยกเว้น งานแกะสลักที่จงใจให้เห็นร่องรอยตาม ธรรมชาติ) | 4 | 3 | 2 | 1 | |
การประกอบ | รอยต่อต้องประณีต เรียบร้อย ติดแน่น คง ทน ไม่มีรอยแตก รอยร้าว หรือรอยตำหนิ | 4 | 3 | 2 | 1 |
ลวดลาย | ต้องประณีต แนบเนียน กลมกลืนตลอด ชิ้นงาน | 4 | 3 | 2 | 1 |
สี (ถ้ามี) | ต้องเรียบ สม่ำเสมอ ไม่เป็นเม็ด และเมื่อ ลูบผลิตภัณฑ์แล้วสีต้องไม่ติดมือ | 4 | 3 | 2 | 1 |
การเคลือบผิว (ถ้ามี) | ต้องเรียบ สม่ำเสมอ ไม่เป็นเม็ด เป็นคราบ หรือหนาเกินไปจนทำให้ชิ้นงานขาดความ สวยงาม | 4 | 3 | 2 | 1 |
๗.๒ การทดสอบการบรรจุและเครื่องหมายและฉลาก ให้ตรวจพินิจ