ประวัติการแกะสลักไม้ของบ้านหลุก

การแกะสลักไม้บ้านหลุก

มีผู้เล่าให้ ฟังว่านายจันดี แก้วชุ่ม ซึ่งเป็นชาวบ้านนาป้อ อำเภอเมือง จังหวัดลำปางได้มาแต่งงานมีครอบครัวอยู่ที่บ้านหลุก ตำบลนาครัว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ด้วยพื้นฐานของบรรพบุรุษที่เป็นช่าง (สล่า) อยู่แล้วได้ไปพบเห็นการแกะสลักไม้ ช้าง ม้า ขายที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย นายจันดีจึงได้ซื้อมาแล้วลองทำดู ปรากฏว่าสามารถทำได้เหทือนของที่ซื้อมา เพื่อนบ้านจึงเล่าขานกันไปทั่วหมู่บ้าน ต่อมามีพ่อค้าคนกลางที่ค้าขายเสื้อผ้าพื้นเมืองที่กรุงเทพได้มาเห็นและได้ขอ ซื้อช้าง ม้า ที่นายจันดีไม้แกะสลักไปขายที่กรุงเทพฯ ปรากฏว่าขายดี จึงได้สั่งให้แกะสลักไม้ มากขึ้นเรื่อย ๆ

ต่อมาเพื่อนบ้าน 3-4 คน ได้ขอให้ นายจันดี ช่วยสอนแกะสลักไม้ให้ ด้วยจิตใจที่โอบอ้อมอารีของนายจันดีที่มีอยู่เดิม จึงได้ทำการสอนการแกะสลักไม้ให้เพื่อนบ้านเหล่านั้นโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย และยังช่วยเหลือเรื่องตลาดให้ด้วย ศิษย์รุ่นแรก ได้นำความรู้ไปสอนลูกหลานบ้านหลุก ปัจจุบันหมู่บ้านหลุกเป็นหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงในด้านการแกะสลักไม้ของ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง การแกะสลักไม้ของบ้านหลุกจัดเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนโดยทุกคนในครอบครัวจะ ช่วยกันทำโดยมีการแบ่งหน้าที่กันนับเป็นสิ่งที่รัฐบาลควรให้การสนับสนุนและ อนุรักษ์ให้เป็นของดีคู่เมืองลำปางต่อไป จากผลงานการแกะสลักไม้ที่บ้านหลุกและความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ด้านการ แกะสลักไม้ของนายจันดี ทำให้นายจันดีได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถให้ ไปสอนแกะสลักที่ศูนย์ศิลปาชีพที่บางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นอกจากนั้นยังได้เคยสาธิตการแกะสลักไม้ในงานฤดูหนาวและงานกาชาดจังหวัดลำปาง และมีนิตยสารหลายฉบับได้นำเรื่องการแกะสลักไม้ของนายจันดีไปลง เช่น นิตยสาร Life and Decor ปัจจุบันบ้านหลุกเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าที่สำคัญของจังหวัดลำปางด้านการ แกะสลักไม้ ให้กับนักศึกษาของมหาววิทยาลัยเชียงใหม่ วิทยาลัยโยนกและสถาบันราชภัฏลำปาง รวมทั้งผู้สนในทั่วไป
โดย ดนัย ศรีประเสริฐ

btemplates