ช้างไม้แกะสลัก บ้านจ๊างนัก
พิพิธภัณฑ์บ้านจ๊างนัก ช้างไม้แกะสลั จังหวัดเชียงใหม่ |
ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2528 โดย สล่าเพชร วิริยะซึ่งได้รวบรวมเพื่อนฝูง ตลอดจนลูกศิษย์ลูกหา ช่างแกะสลักฝีมือดีและมีความรักในศิลปะการแกะสลัก ไม้แบบล้านนามารวมตัวกันจัดตั้ง กลุ่มแกะสลักขึ้นมา
เมื่อปีพ.ศ.2531 คุณลุงประยูร จรรยาวงศ์ (2458) คอลัมน์นิสต์ชื่อดังแห่งหนังสือพิมพ์ ไทยรัฐในขณะ นั้น ได้ให้เกียรติมาเยี่ยมเยือนพร้อมกับตั้งชื่อบ้านว่า บ้านจ๊างนัก อันหมายถึงบ้านที่มีช้าง เยอะแยะมากมาย
บ้านจ๊างนัก ได้มีการพัฒนารูปแบบการแกะสลักช้าง ช้างไม้แกะสลัก จากเดิมที่ช่างแกะจะมีการแกะสลักแบบ ตายตัว รูปแบบจะซ้ำกัน มาเป็นการแกะสลักช้างที่ดูมีชีวิตชีวา มีท่าทางท่วงทำนองที่เหมือน ช้างจริง ๆ ซึ่งนับเป็นแห่งแรกที่มีการแกะสลักช้าง รูปแบบนี้
บ้านจ๊างนัก ยังเป็นแห่งแรกที่มีการทดลองนำวัสดุใหม่ๆที่หาได้ในท้องถิ่นมาทด แทนวัสดุเดิม ที่นับวันมีแต่จะหายากมากขึ้น เช่น มีการนำเอาไม้ขี้เหล็กมาทดแทนไม้สัก ซึ่งประโยชน์เพียงอย่างเดียวของไม้ขี้เหล็ก ในสมัยก่อน คือนำมาทำเป็นเชื้อเพลิงเท่านั้น และผลที่ได้จากการนำมาแกะสลักพบว่าไม้ขี้เหล็กเป็นไม้เนื้อแข็งมากการแกะค่อนข้างยากกว่าไม้สัก แต่ผลงานที่ออกมาจะสวยงาม และสีเป็นธรรมชาติงานแกะสลักไม้ทุกชิ้นของสล่าเพชรและลูกศิษย์ได้มีการพัฒนารูปแบบการแกะสลักช้างจากเดิมกลายมาเป็นแกะสลักช้างที่ดูมีชีวิตชีวา มีท่วงท่า ทำนองที่เหมือนกับช้างจริงๆ
นอกจากการทดลองเรื่องของไม้แล้ว ยังมีการนำเอาภูมิปัญญาชาวบ้านที่สืบทอด กันมามาประยุกต์ใช้ กับงานแกะสลัก นั่นก็คือ นำเอาลูกมะเกลือที่ใช้ในการย้อมผ้า มาย้อมสีไม้ซึ่งก็ให้สีที่เป็นธรรมชาติและ ไม่มีสารพิษตกค้างเป็นอันตราย ต่อมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม สล่าเพชรเล่าว่าด้วยความผูกพันกับช้าง และช้างก็เป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองล้านนามาแต่อดีต จึงได้รวบรวมเพื่อนฝูงตลอดจนลูกศิษย์ผู้มีความรักในศิลปะในการแกะสลักไม้ แบบล้านนามารวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มแกะสลักนี้ขึ้นมาจนได้เป็นพิพิธภัณฑ์บ้าน จ๊างนัแห่งนี้
เมื่อ ปี พ.ศ. 2546 บ้านจ๊างนัก ได้รับการบรรจุให้เป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น สังกัด เอกชน ยังผลให้เป็นที่รู้จัก กันอย่างแพร่หลายในหมู่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและ ชาวต่างประเทศ ที่มีความสนใจในศิลปะแขนงนี้ นอกจากนี้ หนึ่งในความภาคภูมิใจของสล่าบ้านจ๊างนักทุกคนคือการที่เป็นส่วนหนึ่ง ของการทำให้ผู้คน ได้เกิดความรัก หวงแหน และ ตระหนักถึงความสำคัญ และปัญหาของ ช้างไทยในปัจจุบัน และร่วมกันอนุรักษ์ช้างไทยให้อยู่คู่กับคนไทยอีกนานเท่านาน
แผนที่พิพิธภัณฑ์ บ้านจ๊างนัก
Baan Jang Nak : A Museum of Elephant Wood Carvings