ไม้แกะสลักเชียงใหม่
หัตถกรรมของเชียงใหม่
งานแกะสลักในยุดก่อนทำขึ้น เพื่องานในสถาบัน ศาสนา และสถาบันเจ้านายเป็นส่วนใหญ่ เช่น คันทวย บานประตู หน้าบัน และโครงสร้างอื่น ๆ ของตัววิหาร หอพระไตรปิฎก หอคำ ซึ่งนอกจากจะใช้ประดับตกแต่ง แล้วยังสะท้อนวิธีคิดและโลกทัศน์ของคนร่วมสมัยอีกด้วย
เดิม แหล่งทำไม้แกะสลักของเชียงใหม่ อยู่แถบ วัวลายประตูเชียงใหม่ และชาวบ้านจากหมู่บ้านถวาย ไปฝึกฝนจนสามารถทำได้ดี จึงได้นำกลับมาทำที่บ้านถวาย ตำบลขุนคง อำเภอหางดง จนเป็นที่นิยมของคนทั่วไป
สินค้าแกะสลักมีหลายอย่าง ตั้งแต่ชิ้นเล็กอย่างเช่น ปากกา ดินสอที่ทำจากกิ่งไม้ ช้าง นก กบ ปลา และสัตว์ต่าง ๆ ดอกไม้ จนถึงไม้แกะสลักขนาดใหญ่ เช่น นางไหว้ นางรำ ช้าง ครกเก่าแกะสลัก โต๊ะ ตู้ เตียง และที่เป็นเอกลักษณ์ของไม้แกเสลักบ้านถวาย คือ พระยืนที่เลียนแบบของพม่า ครุฑซึ่งต้องใช้ฝีมือ
เชียงใหม่ มีหัตถกรรมมากมายหลายอย่าง มีทั้งที่คิดทำขึ้น เพื่อใช้งานในชีวิตประจำวัน และงานที่ประณีตบรรจงด้วยฝีมือ เชิงช่างอย่างที่เรียกกันว่า หัตถศิลป์ เช่น งานไม้แกะสลัก ซึ่งเป็นงานที่สร้างขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน ตามโลกทัศน์ของสังคมนั้น ๆ โดยขึ้นอยู่ในความอุปถัมภ์ของเจ้านาย ส่วนงานหัตถกรรมของชาวบ้านนั้นสร้างขึ้นสนอง ความต้องการของชาวบ้านโดยเฉพาะ เช่น ผ้าทอ หม้อดินเผา หรือเครื่องจักรสาน เนื่องจาก เชียงใหม่เป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนามาช้านาน จึงมีงานศิลปหัตถกรรมมากมาย ทั้งด้านงานศิลปและงานช่าง อีกทั้งมีช่างฝีมือจากที่ต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก มาตั้งรกรากอยู่บริเวณรอบกำแพงเมือง งานฝีมือด้านต่าง ๆ ของเชียงใหม่จึงรุ่งเรืองและอยู่ในความอุปถัมภ์ของเจ้านายคุ้มหลวง เมื่อเจ้านายหมดอำนาจ งานช่างฝีมือก็อ่อนแอตามไปด้วย
ปัจจุบัน งานด้านหัตถกรรมของเชียงใหม่ บางแห่งยังคงสร้างขึ้นตามแบบเดิมในอดีต ส่วนใหญ่แม้ยังใช้พื้นฐานของเทคนิค และวิธีการผลิตเก่า แต่ได้ปรับเปลี่ยนและพัฒนาทั้งรูปแบบทางศิลปะ กระบวนการผลิต และการจัดการให้เข้ากับกลไกตลาด เพื่อตอบสนองความต้องการของคนในสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งงานด้านหัตถกรรมของเชียงใหม่ ที่ยังคงเป็นเอกลักษณ์และเป็นที่นิยมมีอยู่หลายชนิด เช่น เครื่องเงิน เครื่องเขิน ไม้แกะสลัก ผ้าทอตีนจก ผ้าไหมสันกำแพง เครื่องปั้นดินเผา ร่ม และกระดาษสา เป็นต้น
งานแกะสลักในยุดก่อนทำขึ้น เพื่องานในสถาบัน ศาสนา และสถาบันเจ้านายเป็นส่วนใหญ่ เช่น คันทวย บานประตู หน้าบัน และโครงสร้างอื่น ๆ ของตัววิหาร หอพระไตรปิฎก หอคำ ซึ่งนอกจากจะใช้ประดับตกแต่ง แล้วยังสะท้อนวิธีคิดและโลกทัศน์ของคนร่วมสมัยอีกด้วย
เดิม แหล่งทำไม้แกะสลักของเชียงใหม่ อยู่แถบ วัวลายประตูเชียงใหม่ และชาวบ้านจากหมู่บ้านถวาย ไปฝึกฝนจนสามารถทำได้ดี จึงได้นำกลับมาทำที่บ้านถวาย ตำบลขุนคง อำเภอหางดง จนเป็นที่นิยมของคนทั่วไป
สินค้าแกะสลักมีหลายอย่าง ตั้งแต่ชิ้นเล็กอย่างเช่น ปากกา ดินสอที่ทำจากกิ่งไม้ ช้าง นก กบ ปลา และสัตว์ต่าง ๆ ดอกไม้ จนถึงไม้แกะสลักขนาดใหญ่ เช่น นางไหว้ นางรำ ช้าง ครกเก่าแกะสลัก โต๊ะ ตู้ เตียง และที่เป็นเอกลักษณ์ของไม้แกเสลักบ้านถวาย คือ พระยืนที่เลียนแบบของพม่า ครุฑซึ่งต้องใช้ฝีมือ
เชียงใหม่ มีหัตถกรรมมากมายหลายอย่าง มีทั้งที่คิดทำขึ้น เพื่อใช้งานในชีวิตประจำวัน และงานที่ประณีตบรรจงด้วยฝีมือ เชิงช่างอย่างที่เรียกกันว่า หัตถศิลป์ เช่น งานไม้แกะสลัก ซึ่งเป็นงานที่สร้างขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน ตามโลกทัศน์ของสังคมนั้น ๆ โดยขึ้นอยู่ในความอุปถัมภ์ของเจ้านาย ส่วนงานหัตถกรรมของชาวบ้านนั้นสร้างขึ้นสนอง ความต้องการของชาวบ้านโดยเฉพาะ เช่น ผ้าทอ หม้อดินเผา หรือเครื่องจักรสาน เนื่องจาก เชียงใหม่เป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนามาช้านาน จึงมีงานศิลปหัตถกรรมมากมาย ทั้งด้านงานศิลปและงานช่าง อีกทั้งมีช่างฝีมือจากที่ต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก มาตั้งรกรากอยู่บริเวณรอบกำแพงเมือง งานฝีมือด้านต่าง ๆ ของเชียงใหม่จึงรุ่งเรืองและอยู่ในความอุปถัมภ์ของเจ้านายคุ้มหลวง เมื่อเจ้านายหมดอำนาจ งานช่างฝีมือก็อ่อนแอตามไปด้วย
ปัจจุบัน งานด้านหัตถกรรมของเชียงใหม่ บางแห่งยังคงสร้างขึ้นตามแบบเดิมในอดีต ส่วนใหญ่แม้ยังใช้พื้นฐานของเทคนิค และวิธีการผลิตเก่า แต่ได้ปรับเปลี่ยนและพัฒนาทั้งรูปแบบทางศิลปะ กระบวนการผลิต และการจัดการให้เข้ากับกลไกตลาด เพื่อตอบสนองความต้องการของคนในสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งงานด้านหัตถกรรมของเชียงใหม่ ที่ยังคงเป็นเอกลักษณ์และเป็นที่นิยมมีอยู่หลายชนิด เช่น เครื่องเงิน เครื่องเขิน ไม้แกะสลัก ผ้าทอตีนจก ผ้าไหมสันกำแพง เครื่องปั้นดินเผา ร่ม และกระดาษสา เป็นต้น